• พระประธานในอุโบสถ

    พระพุทธชินราชจำลอง ของวัดพุทธบูชานี้ มีขนาดเท่าองค์จริง มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว (๒.๘๗๕ เมตร) สูง ๗ ศอก หล่อด้วย ทองสัมฤทธิ์ (เป็นโลหะผสมระหว่างทองเหลืองและดีบุก) น้ำหนัก ๓ ตัน (๓,๐๐๐ กิโลกรัม) มีพุทธลักษณะที่งดงาม มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เรือนแก้ว (ลวดลายคล้ายตัวพญานาค ดุจรัศมีล้อมรอบองค์พระ) ยักษ์ (มีลักษณะกึ่งนั่งกึ่งยืนมือขวาถือกระบองอยู่ปลายเรือนแก้วทางด้านซ้าย) มาร (ลักษณะอยู่ในท่ากำลังเหาะมือทั้งสองข้างจับบ่วงบาศบนศรีษะ อยู่ปลายเรือนแก้วตรงด้านขวา) ฝาผนังด้านหลังขององค์พระ ลงรัก เขียนลวดลายปิดทองเป็นรูปใบไม้และดอกไม้ มีปูนปั้นนูนรูปเทพบูชา (หมู่เทวดา นางอัปสร โปรยดอกไม้เพื่อเป็นพุทธบูชา) พร้อมสมบูรณ์ เหมือนองค์จริงทุกประการ ประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่ ราคาในการก่อสร้างองค์พระ๒๘๑,๐๐๐ บาท

  • วัดพุทธบูชา

    เลขที่ 181 หมู่ 3 ถ.พุทธบูชา ซอย 30 ริมคลองบางมด แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร. 02-426-3667, 02-874-8108

  • คลื่นพุทธบูชา FM100.25 MHz

    สถานีวิทยุกระจายพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม

  • พระราชภาวนาพินิจ พระราชภาวนาพินิจ

    หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย ท่านจะดำรงตำแหน่งเป็นเจาอาวาส วัดพุทธบูชา

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อัฐิพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน รอวันแปรเป็นพระธาตุ (บันทึกภาพในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2554 เวลาประมาณบ่าย 3โมง)

189013_171083989608817_100001216522700_447765_5025120_n
อัฐิพระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน รอวันแปรเป็นพระธาตุ (บันทึกภาพในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2554 เวลาประมาณบ่าย 3โมง)

190297_171095869607629_100001216522700_447922_7015577_n 195968_171074886276394_100001216522700_447587_924175_n


Share:

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อริยชีวิต โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร


ฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี

Share:

นิพพานสูตร โดย หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร

ถ่ายทอดสดกิจกรรมฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี ประจำวันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘



Share:

กองทุกข์ กองทุน โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร



ถ่ายทอดสดกิจกรรมฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี ประจำวันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘
Share:

อัตตาตัวตน โดย หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร




ถ่ายทอดสดกิจกรรมฟังธรรมเทศนาประจำทุกวันเสาร์ที่สองของเดือน โดยพระเดชพระคุณพระราชสิทธาจารย์ (วิ) (หลวงปู่ทองใบ ประภัสสโร) ประธานสงฆ์วัดนาหลวง ณ วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) บ้านนาหลวง ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี ประจำวันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ 


Share:

รายการภาษาธรรมภาษาใจ ย้อนหลังหลายๆปีที่ผ่านมาที่เคยออกอากาศผ่านมาแล้ว ทั้งหมด 112 ชั่วโมง


รายการภาษาธรรมภาษาใจ ย้อนหลังหลายๆปีที่ผ่านมาที่เคยออกอากาศผ่านมาแล้ว ทั้งหมด 112 ชั่วโมง ท่านสามารถดาวโหลดเสียงธรรมะเก่าๆที่เคยออกอากาศทางสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม คลื่น fm 100.25 mhz คลื่นพุทธบูชา ...
Share:

รับฟังหรือดาวโหลดรายการภาษาธรรมภาษาใจปี 2558 100 ชั่วโมง



รายการเก่าตั้งแต่ปีก่อน ก็น่าสนใจสำหรับผู้หัดปฏิบัติธรรมใหม่ในยุคสมัยปัจจุบันนีเราจะต้องมีความเข้าใจในวิถีชีวิตเราด้วย  สังคมที่ร่วมสมัยเราด้วย การฝึกปฏิบัติที่ง่ายๆและลัดสั้น จึงอาจมีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตคนในยุคสมัยใหม่นี้ได้ดี
Share:

กฐินวัดพุทธบูชา วันที่28 ตุลาคม 2558


บอกข่าวบุญค่ะ..
กฐินวัดพุทธบูชา วันที่28 ตุลาคม 2558
ปีนี้เป็นปีแรกที่มีจุลกฐิน
ปัจจัยนำบูรณะพระอุโบสถ
ท่านใดสนใจเป็นเจ้าภาพร่วมกองล่ะ 10,000บาท
หรือทำบุญตามกำลังศรัทธา...
พรุ่งนี้มีงานทำบุญเสาร์ต้นเดือน..
ทางวัดนำพี่จรเข้ มารับบุญกับทุกท่านค่ะ
นำเงินใส่ไม้ร่วมบุญกฐืนซ่อมโบสถ์...
ฝากพี่จรเข้ได้เลยค่ะ
สาธุๆค่ะ
Share:

พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชภาวนาพินิจ (สนธิ อนาลโย ) พระกัมมัฏฐานกลางกรุง


วันนี้รับหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าพรุ่งนี้..
ประหลาดใจเมื่อเจอรูปหลวงพ่อ
พาดหัวข่าวสด..
เลยต้องบอกเพื่อนๆที่มีความเคารพ
พระเดชพระคุณ
หลวงพ่อพระราชภาวนาพินิจ
(สนธิ อนาลโย )
พ่อแม่ครูอาจารย์ของเราทุกคน
ซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึกค่ะ
โดย กอสพลอย พลอยกอส
Share:

รายการภาษาธรรมภาษาใจ ปี2559


ต่อไปนี้อาตมาจะนำเสนอแนวปฏิบัติธรรมต่างๆผ่านทางเว็ปบล็อก
อาจจะมีประโยชน์ต่อท่านที่ฝึกมาแล้วติดขัด จิตไปสามารถก้าวข้าม
ความหลงในตัวรู้ ตัวผู้เห็น 
Share:

ภาพงานวันทอดกฐินวัดพุทธบูชา13 ตุลาคม 2554


DSCN0067
งานบุญกฐินในปีนี้ เป็นการทอดถวายผ้ากฐินที่มีสาธุชนมาเป็นเจ้าภาพร่วมกันถึง 421 ท่านเพื่อสมทบทุนก่อสร้างอาคารปริยัติธรรม อนาลโย 80 ปี สำหรับปีนี้ได้ทุนประเดิม 4818886.99 บาท สี่ล้าน แปดแสน หนึ่งหมื่น แปดพัน แปดร้อย แปดสิบสามบาท เก้าสิบเก้าสตางค์ ในนามคณะสงฆ์วัดพุทธบูชาขออนุโมทนาในบุญกับสาธุชนทุกๆท่าน ไว้ณ.โอกาสนี้  ขออายุ วรรณะ สุขะ พละ จงมีแด่ท่านทุกเมื่อ เทอญ
Share:

แนวทางการเจริญวิปัสสนาโดยอ.สุจิน บริหารวนเขต์


_31_309
_3_419_20_773%CB%C5~1_4_645%BE%C3~1_1_127

แนวทางเจริญวิปัสสนา โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหาวนเขต ชุด 1



แนวทางเจริญวิปัสสนา โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหาวนเขต ชุด 2



แนวทางเจริญวิปัสสนา โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหาวนเขต ชุด 3



แนวทางเจริญวิปัสสนา โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหาวนเขต ชุด 4



แนวทางเจริญวิปัสสนา โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหาวนเขต ชุด 5



แนวทางเจริญวิปัสสนา โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหาวนเขต ชุด 7


          ภาพไปเที่ยวเมืองเหนือ งานหลวงปู่มหา บัว ญาณสัมปัณโณ วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
Share:

พญานาคเกี้ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างไร


เมื่อพ ร ะ โ ม ค คั ล ล า น ะ ต่ อ สู้ กั บ พ ญ า น า ค
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
หากพระองค์เสด็จไปทรมานก็จะหันมานับถือพระรัตนตรัย แล้วจะเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานในชาติต่อๆ ไป เพราะฉะนั้น ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านของอนาถบินฑิกเศรษฐี ทรงรับสั่งท่านพระอานนท์ให้สงฆ์ทราบว่า พระองค์จะเสด็จไปเทวโลกก่อนที่จะไปฉันที่บ้านของท่านเศรษฐี บรรดาพระมหาสาวกก็พาบริวารของตนเอง มาคอยรับเสด็จพระพุทธองค์ แล้วติดตามเหาะไปสู่พรหมโลกด้วยกายเนื้อ 


พ ญ า น า ค ข ว า ง ท า ง ไ ป สู่ ส ว ร ร ค์ ..........ในสมัยนั้น พระยานาคชื่อนันโทปนันทะ เนรมิตรกายให้งดงามประดุจเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ นั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ เสวยทิพยสมบัติด้วยใจเบิกบานทีเดียว ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระสาวกเหาะมาก็โกรธตามประสาผู้มีทิฏฐิมานะว่า “สมณะเหล่านี้เห็นทีจะไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อไปก็ต้องเหาะข้ามหัวเราไป ฝุ่นละอองที่ติดเท้าก็จะร่วงหล่นใส่เรา ควรที่เราขึ้นไปห้ามเสียก่อน ไม่ให้เหาะข้ามไปเด็ดขาด” คิดแล้วก็เอาหางรัดเขาพระสุเมรุซึ่งสูงประมาณ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ไว้ ๗ รอบ เลิกพังพานปิดเมืองดาวดึงส์อันมีบริเวณ ๑๒ โยชน์ และปรากฏอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ บันดาลให้เป็นหมอกควันมืดอนธการไปหมด
..........พระรัฐปาลเถระเห็นความผิดปรกติเช่นนั้น ก็ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า เมื่อก่อนข้าพระองค์ยืนอยู่ตรงนี้ สามารถมองเห็นภูเขาที่อยู่ล้อมภูเขาพระสุเมร และได้เห็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เห็นเวชยันตปราสาท ได้เห็นธงเบื้องบนเวชยันตปราสาท แต่มา ณ บัดนี้ไม่เห็นอะไรเลย ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุอะไรพระเจ้าข้า” เมื่อทราบว่า พญานาคเป็นเพียงสัตว์ดิรัจฉานผู้มีอานุภาพเท่านั้น แต่บังอาจมาขัดขวางหนทางพระพุทธเจ้า ก็อาสาที่จะปราบพระยานาคให้สิ้นฤทธิ์เสียเลย แต่ท่านก็ถูกพระพุทธองค์ตรัสห้ามไว้เสียก่อน พระอรหันต์รูปอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพระภัททิยะ พระราหุล ต่างก็ทูลอาสาที่จะไปปราบพญานาค พระองค์ก็ทรงห้ามเอาไว้เหมือนกัน ด้วยทรงทราบว่าไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ทั้งหลายที่จะทำลายทิฏฐิมานะของพญานาค ผู้มีฤทธานุภาพมาก หากไม่ระวังอาจถูกนาคทำร้ายถึงขั้นต้องตาย คือเข้านิพพานกันก่อนเวลาสมควรก็เป็นได้ ครั้นเมื่อพระมหาโมคัลลานะทูลอาสา จึงทรงอนุญาตพร้อมทั้งทรงประทานพรให้มีชัยชนะแก่พระยานาค
พ ร ะ โ ม ค คั ล ล า น ะ ต่ อ สู้ กั บ พ ญ า น า ค ..........พระมหาโมคคัลลานะ ครั้นได้รับพุทธานุญาตแล้วก็คิดว่า พระยานาคราชนี้เข้าใจว่าตัวเองมีฤทธิ์มาก ไม่มีใครเปรียบได้ จึงได้คิดอกุศลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จำเราจะทรมานเสียให้สิ้นพยศ ท่านคิดดังนั้นแล้ว ก็เนรมิตกายเป็นพระยานาคที่มีร่างกายยาวใหญ่กว่าพระยานันโทปนันทะถึง ๒ เท่า มีพังพานประมาณแสนโกฏิ ประดับไปด้วยแก้วและทองงดงาม แล้วรัดกายของพระยานาคราชนั้นให้แน่นเข้ากับเขาพระสุเมรุ มิให้เคลื่อนไหวได้ ฝ่ายพระยานาคถูกนาคพระมหาโมคคัลลาน์รัดจนแทบกระดูกแตกก็โกรธเกรี้ยวยิ่งนัก ได้พ่นพิษให้เป็นควันพุ่งใส่พระเถระเต็มที่ แต่พระมหาโมคคัลลาน์ก็บันดาลให้ควันเกิดขึ้นมากยิ่งกว่า ปราบฤทธิ์ของพระยานาค
..........พระยานาคขัดเคืองมาก ก็พ่นควันพิษเป็นเปลวไฟอันร้อนแรงเข้าใส่ พระเถระก็เข้าเตโชกสิณ เนรมิตไฟที่ร้อนแรงกว่าให้เกิดขึ้น ไฟของพระยานาคไม่อาจระคายเคืองผิวของพระเถระได้เลย แต่พยานาคกลับถูกไฟของพระเถระเบียดเบียนจนร้อนรุ่มยิ่งนัก พระยานาคคิดว่า “สมณะนี้ชื่ออะไรหนอ ทำไมจึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้” พระเถระก็บอกให้ทราบว่าเป็นสาวกเบื้องซ้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระยานาคจึงหาเรื่องต่อว่า “ท่านเป็นสมณะ ทำไมจึงมาทำร้ายข้าพเจ้า การกระทำของท่านมิควรแก่สมณะเลย”
..........ท่านพระเถระตอบว่า “เรานี้ไม่ได้ลงโทษท่านเพราะความโกรธ แต่ที่ทรมานท่านนั้นน่ะ ก็หวังจะให้ท่านละความเห็นผิด ให้ตั้งอยู่ในทางของพระอริยเจ้า” ว่าแล้วก็กลับเพศเป็นพระมหาโมคคัลลาน์พร้อมกับสอนว่า “เจ้าเป็นเดียรัจฉานมีความประมาท มิรู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่รู้จักคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนมารดาบิดาครูอาจารย์ ควรแล้วหรือที่ท่านจะมาสำแดงความโกรธในพระพุทธเจ้า และพระสาวกที่เหาะมาแล้วเนรมิตกายปิดกั้นหนทางไปของพระองค์ แม้ละอองพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะตกลงมาเหนือเศียรของท่าน ก็จะเกิดมงคลยิ่งนัก หาเป็นอัปมงคลไม่
..........พวกเทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งเหล่ามนุษย์ล้วนแต่ประณมหัตถ์นมัสการ ตั้งความปรารถนาที่จะบูชาพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนพระยานาคราช ผู้ที่บังเกิดขึ้นมาในโลกนี้นั้น ยากนักที่จะได้เป็นพระพุทธเข้า บางคนเกิดมานับหมื่น ๆ ชาติก็มิได้พานพบ อย่าว่าแต่การได้พบพระองค์เลย แม้แต่รอยพระบาทก็ยากที่จะพบ เพราะทวยเทพทั้งหลายมาลบรอยพระบาทเสียก่อน หากว่าพระองค์ทรงอธิษฐานไว้ จึงจะประดิษฐานอยู่ไม่ลบเลือน
..........ผู้ใดเลื่อมใสในพระองค์แล้ว จะได้ผลานิสงส์อันยิ่งใหญ่ จะได้เสวยทิพยสมบัติในเทวโลกชั้นใดชั้นหนึ่งใน ๖ ชั้นในภายหน้า เพราะพระพุทธเจ้ามีอานุภาพเป็นอจินไตย คุณของพระองค์ก็มากมายเกินกว่าจะพรรณนาให้หมดสิ้นไปได้ ท่านสิเป็นเดียรัจฉานชั้นต่ำ ซ้ำยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ มากล่าวร้ายพระพุทธเจ้า มีแต่จะต้องไปบังเกิดในนรกอย่างเดียวเท่านั้น”
_28_439พ ญ า น า ค ถู ก ป ร า บ
..........ถึงกระนั้นพญานาคก็ยังไม่ยอมเชื่อถ้อยคำของพระเถระ ยังมีทิฏฐิมานะเหมือนเดิม คิดแต่จะหาทางกำจัดพระเถระให้ได้ พระเถระรู้วาระจิตของพญานาค จึงเข้าไปทางช่องหูเบื้องขวาของพระยานาค แล้วออกทางช่องหูเบื้องซ้าย เข้าไปทางช่องหูเบื้องซ้ายออกทางช่องหูเบื้องขวา เข้าทางช่องจมูกเบื้องขวาออกทางช่องจมูกเบื้องซ้าย เข้าทางจมูกเบื้องซ้ายออกทางจมูกเบื้องขวา พระยานาคถูกทรมานอย่างนั้นก็เกิดทุกขเวทนายิ่งนัก คิดว่า “ในนาคพิภพไม่มีใครจะสู้ฤทธิ์เดชของเราได้ แต่สมณะนี้กลับทรมานเราจนไม่อาจอดทนได้ต่อไป คอยดูเถอะ เราจะล่อหลอกให้สมณะนี้เข้าไปทางปากของเรา แล้วจะเคี้ยวให้แหลกละเอียด” คิดแล้วก็กล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ธรรมดาว่าสมณะย่อมมีแต่เมตตากรุณา ทำแต่สิ่งที่ชอบธรรมมิได้ขาด แต่นี่พระผู้เป็นเจ้ามาแกล้งทรมานข้าพเจ้าให้เป็นทุกข์ ก็พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่ามิได้โกรธข้าพเจ้า เหตุไรจึงลงโทษข้าพเจ้าเล่า” ว่าแล้วก็อ้าปากแยกเขี้ยวเข้าใส่หมายจะเข่นฆ่าด้วยความโกรธ
..........ฝ่ายพระเถระได้ฟังแล้วก็ไม่ได้สะทกสะท้าน ทั้งในคำขู่และคำกล่าวหาใดๆ เลย ท่านบอกว่า “การที่เราทรมานท่านนั้น ก็เพราะหวังจะให้ท่านมีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอันจะเป็นอุปนิสัยติดไปในภายหน้า ใช่ว่าจะเกลียดชังท่านก็หามิได้” ว่าแล้วก็ปาฏิหาริย์กายให้เล็กลง เหาะวับเข้าไปในปากของพระยานาค ท่านเข้าไปเดินจงกรมอยู่ในท้องของพระยานาคทำให้พญานาคเจ็บปวดทรมานเหลือประมาณ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้
..........ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณว่า “บัดนี้พระยานาคได้พ่ายแพ้แก่พระมหาโมคคัลลาน์บุตรของเราแล้ว” ทรงเปล่งโอภาสอยู่บนนภากาศ ตรัสเตือนท่านพระเถระว่า “พระยานาคตัวนี้มีฤทธิ์ยิ่งนัก ท่านจงมนสิการให้ดี อย่าได้ประมาท” พระเถระทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญอิทธิบาท ๔ มา มิได้เกียจคร้าน ทำจนชำนาญปรารภอยู่มิได้ขาด ย่อมไม่กลัวพระยานาคนี้ แม้ว่าจะมีพระยานาคที่มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพระยานาคตัวนี้สักแสนเท่า ข้าพระพุทธเจ้าก็หากลัวไม่”
..........ฝ่ายพระยานาคได้แกล้งทำเป็นขอร้องว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าได้เบียดเบียนเราเลย จงออกมาจากท้องของเราเสียเถิด” ท่านเถระทราบวาระจิตของพระยานาค ก็เหาะออกมานั่งอยู่ข้างนอก ฝ่ายพระยานาคยังไม่สิ้นพยศ คิดจะระบายลมออกจากจมูกให้แรง จนแม้จะถูกต้นไม้ ต้นไม้ก็หักโค่น ท่านพระมหาโมคคัลลาน์ทราบวาระจิตของนันโทปนันทนาคราช ก็เข้าจตุตถฌานรักษาตนไว้มิให้เป็นอันตราย ลมที่เร่าร้อนนั้นไม่อาจจะทำความระคายผิวหรือเส้นขนของพระเถระได้เลย ซึ่งพระอรหันต์รูปอื่นอาจจะทำปาฏิหาริย์ได้ แต่การเข้า-ออก จตุตถฌานอย่างชำนาญไม่ติดขัดเหมือนพระมหาโมคคัลลานะเถระ ไม่ใช่ทำได้ง่าย นี่จึงเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเฉพาะพระมหาโมคคัลลานะเถระเท่านั้น

พ ญ า น า ค ยึ ด เ อ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า เ ป็ น ส ร ณ ะ 
..........พระยานาคเห็นพระเถระมิได้รับอันตรายแต่อย่างไร ก็รู้สึกหวาดหวั่นใจขึ้นมา เพราะมองไม่เห็นวิธีการที่จะต่อสู้กับพระเถระได้ คิดว่า “สมณะองค์นี้มีฤทธิ์มากยิ่งนัก ถ้าเราจะสู้ต่อไปก็น่าที่จะได้รับความลำบากมากกว่านี้ คงถึงตายเป็นแน่ จำเราจะต้องรีบหนีไปเสียก่อน ไม่ยอมให้สมณะรูปนี้ทรมานอีกต่อไปได้” ท่านพระเถระทราบว่าพญานาคกำลังจะหนี จึงเนรมิตกายให้เป็นพญาครุฑใหญ่บินติดตามไล่ล่า พระยานาคก็แปลงกายเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ โตบ้าง เล็กบ้าง เพื่อหลบหนีไป พระเถระก็ติดตามมิได้ลดละ พญานาคเมื่อเห็นว่าจะหนีไม่พ้น จึงแปลงกายเป็นมาณพน้อยเข้าไปกราบแทบเท้าของพระเถระ กล่าวว่า “ข้าพเจ้ายอมแพ้แล้ว ข้าพเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีใจบาปหยาบช้า มิได้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดแก่ตน มาพบพระผู้เป็นเจ้าก็มิได้ถวายอภิวาท ขอพระผู้เป็นเจ้า จงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” 
..........พระเถระกล่าวว่า เราเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา เพราะฉะนั้น ท่านจงไปสำนักของพระพุทธเจ้าเพื่อยึดเอาพระองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดเถิด ว่าแล้วก็พาพระยานาคไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไปถึงพญานาคก็ก้มลงกราบนมัสการแล้วกราบทูลว่า “ข้าพเจ้านี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นพาลมิได้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ขอพระองค์ได้โปรดอโหสิกรรมในความผิดที่ได้ทำพลั้งพลาดเพราะอกุศลเข้าสิงจิตนั้นด้วยเถิด บัดนี้ข้าพเจ้าทราบแน่ชัดแล้วว่า พระองค์เป็นนาบุญของทายกทั้งปวง จำเดิมแต่วันนี้ไป ข้าพเจ้าขอสละรูปกายบูชาพระรัตนตรัยไปจนตราบชีวิตจะหาไม่” 
ม ห า เ ศ ร ษ ฐี ฉ ล อ ง ชั ย ช น ะ แ ก่ พ ร ะ เ ถ ร ะ 
..........พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานศีล ๕ ให้รักษาแล้วก็พาพระสาวกกลับไปบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเศรษฐีก็ทูลถามว่า“วันนี้เหตุใดพระองค์จึงเสด็จมาสาย พระเจ้าข้า” ทรงตอบว่า “เป็นเพราะโมคคัลลานเถระ ทำสงครามกับนันโทปนันทนาคราช” “แล้วใครแพ้ใครชนะ พระพุทธเจ้าข้า” “พญานาคพ่ายแพ้โมคคัลลาน์” ท่านเศรษฐีได้สดับแล้ว ก็ชื่นชมโสมนัสยิ่งนัก ทั้งเลื่อมใสต่อพระมหาเถระ และเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพอันไม่มีประมาณ จึงอยากจะฉลองชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ท่านได้กระทำการบูชาสักการะพระอรหันต์ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยการถวายสังฆทาน ๗ วัน 
..........จากเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า เพียงฤทธานุภาพของพระมหาสาวกก็ยังสามารถปราบพระยานาคผู้มีฤทธิ์มากได้ อานุภาพของพระบรมศาสดายิ่งจะต้องมีมากกว่านั้นร้อยเท่าพันทวี เพราะในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก จะหาบุคคลผู้มาเสมอเหมือนพระองค์ไม่มีเลย มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม นาค ยักษ์ ครุฑ คนธรรพ์ทุกหมู่เหล่า ไม่อาจเทียบได้ทั้งด้านปัญญา อานุภาพหรือมหากรุณา เพราะฉะนั้น ในชัยมงคลคาถาจึงได้ถือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีชัยแก่พระยานาคราช นับเป็นการมีชัยครั้งที่ ๗ ของพระองค์ที่พระโบราณจารย์ได้บันทึกเอาไว้ จึงสมควรอย่างยิ่งที่เราเอง จะนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า นอบน้อมต่อพระรัตนตรัยซึ่งมีคุณอันไม่มีประมาณ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ พุทฺโธ เม สรณํ วรํ ที่พึ่งที่ระลึกอย่างอื่นของพวกเราไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกอันเกษมสูงสุดของเรา และหมั่นสวดสรรเสริญเจริญพุทธคุณอยู่เป็นประจำอย่าได้ขาด 
..........ผู้รู้ได้กล่าวเอาไว้ว่า บุญอันเลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขและกำลัง ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสในรัตนะอันเลิศ คือเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยมเลื่อมใสในพระธรรมอันประเสริฐ อันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบ เป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็นนาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในสิ่งที่เลิศ ปราชญ์ผู้ถือมั่นธรรมที่เลิศ ให้สิ่งที่เลิศ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศบันเทิงใจอยู่.....
นนฺโทปนนฺทภุชคํ วิพุธํ มหิทฺธึ
ปุตฺเตน เถรภุชเคน ทมาปยนฺโต
อิทฺธูปเทสวิธินา ชิตวา มุนินฺโท
ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจอมมุนี ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส
ไปปราบนันโทปนันทนาคราช ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มากด้วยวิธีให้แสดงฤทธิ์ทรมาน ให้สิ้นฤทธิ์
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงเกิดมีแก่ท่าน
Share:

How to กินข้าวให้ได้บุญทุกมื้อ by Dhammasarokikku


IMG_2542ห่างเหินการเขียนบทความธรรมะมาเสียนาน วันนี้มาเคาะสนิมออกสักหน่อย เขียนบทความธรรมะส่งท้ายเดือนเกิดดีก่า
กินเจกันดีไหม?
ช่วงนี้เป็นเทศกาลกินเจ บางคนก็เห็นด้วย บางคนก็ไม่เห็นด้วย บางคนก็เข้าใจวัตถุประสงค์ของการกินเจเป็นอย่างดี บางคนไม่เข้าใจ บางคนไปคอยจับผิดคนกินเจว่า ทำไมจะต้องทำให้มีรูปร่างเหมือน กลิ่นเหมือน รสชาติเหมือนเนื้อสัตว์ เช่นนั้นจักได้ประโยชน์กระไร? จักละกิเลสกระไร? นานาจิตตังครับ ทั้งนี้ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำเทศน์ของครูบาอาจารย์ครับว่า
สาธุ.... จะกินเนื้อ กินเจ ขี้ก็เหม็นเหมือนเดิม กินเจ ขี้เหม็นน้อยกว่า ก็เหม็นอยู่ดี สำคัญว่ากินเจ คือการตั้งใจทำความดี คือไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่นเขา ถ้าเทียบในบารมี 10 นะ เขาก็ได้ ทานบารมี ศีลบารมี ได้เนกขัมมะ สมาธิ ออกจากเรือนไปช่วยงานศาลเจ้า ปัญญาได้ วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา มากน้อยเกิดแตกต่างกันไป
เรื่องข้อเสีย เราอย่าไปมอง มันขาดกำไร ไม่ได้ลงทุนกับเขาไปว่าเขา นี้ขาดทุน ไม่ได้ลงทุน แต่อนุโมทนา นี้ได้กำไร
ส่วนตัวแล้วข้าพเจ้ารู้สึกเฉย ๆ กับการกินเจ กินมังสวิรัติ รวมถึงการอดอาหาร แต่ก็มิได้รู้สึกต่อต้าน และก็มิได้ไปจับผิดใคร เขาทำความดี เราโมทนา เราก็ได้บุญไปกับเขาด้วย โดยไม่ต้องใช้ความพยายามกระไรเลย จะไปแอนตี้ให้ขาดทุนทำไม? กระทั่งคำเสียดสีก็ไม่ควรใช้ครับ (เห็นบ่อยบน FB) คำที่ไปทำร้ายจิตใจคนที่กำลังพยายามทำความดีอยู่ ทำให้เขาเสียกำลังใจนั้นไม่ฉลาดเลย การทำเช่นนั้นถึงเวลาที่เราจักได้มรรคผลบ้าง ก็จักเจอคนมาทำให้เสียกำลังใจทำความเพียรเช่นกัน
มีข้อแนะนำเล็ก ๆ เท่านั้นเองว่า อย่ากินเจเพื่อสนองอัตตา ตัวตน ตัวกู ว่าข้าเก่ง ข้าทำได้ ข้าดีกว่าคนอื่นที่ยังกินเนื้อสัตว์อยู่ อย่างนั้นลำบากเสียเปล่าครับ ไม่ได้ประโยชน์กระไร ยิ่งไปเบ่งทับคนอื่นนี่นอกจากไม่ได้บุญแล้ว ยังได้บาปกลับมาด้วย คือไปเพิ่มมานะอัตตาตัวตน หรืออีโก้ให้มากขึ้น พยายามทำตัวเราให้ดีครับ ไม่ต้องไปดูคนอื่น
ที่ข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นนั้น ก็เพราะครูบาอาจารย์ของข้าพเจ้าทดลองฉันมาทุกแบบทุกอย่าง ฉันมังสวิรัติ ฉันเจ ฉันถั่ว ฉันงา ฉันมาก ฉันน้อย จนไม่ฉันเลย อดอาหารหลาย ๆ วัน กิเลสมันมิได้สะเทือนเลยสักกระผีก ไม่ว่าจะกินยากกินลำบากแค่ไหน บรรเทาได้แค่กิเลสหยาบ ๆ ระงับความเมามันในรส ในรูปร่าง ในกลิ่นเท่านั้น มีข้อดีคือทำให้เป็นคนอยู่ง่าย กินง่าย ไม่ลำบากญาติโยมแค่นั้นเอง
แต่เชื่อไหมครับ? ทั้งที่ท่านตัดกิเลสจากการขบฉันที่ไม่ปกติทุกอย่างไม่ได้เลย สุดท้ายท่านบรรลุอรหัตตผลเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาได้ด้วยข้าวเพียงคำเดียว ภายในเวลาเพียง ๕๕ วันเท่านั้น
จิตคนเราบริสุทธิ์หลุดพ้น ด้วยปัญญา ครับ มิใช่อย่างอื่น
เพราะฉะนั้นเราต้องขบฉันกันด้วยปัญญา มิใช่ขบฉันกันด้วยการทรมานกาย และมิใช่ขบฉันกันสบายตามใจกิเลสจนเกินไป มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางนั่นเอง เป็นหนทางอันประเสริฐ (แต่ท่านบอกไว้ครับว่า ฉันเจ ฉันมังสวิรัติ ฉันน้อย ทำให้เจริญพระกรรมฐานได้ดีขึ้น เบา สบาย เทพยดาอำนวยพร)
บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยข้าวคำเดียว
ช่วงที่ท่านปฏิบัติอย่างเข้มข้นนั้น มีพระผู้ใหญ่มาสอนครับ สอนให้ท่านพิจารณาข้าวเพียงคำเดียวนี่ละ ไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่น
แต่การพิจารณาของท่านมีเคล็ดไม่ลับนะครับ คือท่านเจริญพระกรรมฐาน มีการนั่งสมาธิ เป็นต้น ก่อน เข้าฌานสมาบัติลึกที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แล้วถอยออกมาที่อุปจารสมาธิ หรือปฐมฌาน (สมาธิขั้นต้น) แล้วค่อยเริ่มพิจารณา การทำเช่นนี้ ทำให้จิตบริสุทธิ์ชั่วคราว พ้นไปจากกิเลสชั่วคราว จิตมีกำลังมาก มีปัญญาแหลมคมมาก เห็นความเป็นจริง ยอมรับได้ง่าย และตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหาน (ขาดสิ้นเชิงไม่กำเริบอีก) ได้ง่ายด้วย
ท่านสอนให้เริ่มพิจารณาว่า ข้าวสวยเมล็ดหนึ่งที่เรากินเข้าไปนี่ มันมาจากไหน? มันมาจากข้าวสารใช่ไหม ข้าวสารต้องซื้อต้องหามา อาการหาเงินไปซื้อข้าวมานี่ มันอาการของสุขหรือทุกข์? มีข้าวสารแล้วก็ยังไม่พอ ต้องมีหม้อ มีน้ำ มีเตา มีเชื้อเพลิง หรือไฟฟ้า ทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินไปหาซื้อมา การหาเงินมาซื้อนั่นซื้อนี่นั้น มันเป็นอาการของสุขหรือทุกข์?
ภาพประกอบจาก : http://www.thaisiamboonphong.com/
ย้อนกลับไปอีก หากเรามิได้มีเงินไปซื้อข้าวสาร เราก็ต้องไปปลูกข้าวกินเอง ใครเคยไปลองปลูกข้าวก็คงทราบดีว่า การปลูกข้าวนั้นมันลำบากขนาดไหน หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ต้องหว่าน ต้องไถ ต้องดำนา ต้องใส่ปุ๋ย ต้องกำจัดวัชพืช ต้องกำจัดศัตรูพืช ต้องเก็บเกี่ยว สุดท้ายได้ข้าวเปลือกมา ก็ยังต้องเอาไปสีอีก กว่าจักได้มาเป็นข้าวขาว ๆ ให้เราหุง อาการทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอาการของสุขหรือทุกข์? (ยิ่งไปอยู่ที่กันดาร ข้าวยิ่งปลูกยาก เช่น บนดอย พื้นราบไม่มี ต้องทำเกษตรขั้นบันได ทั้งที่ลำบากยากเย็นขนาดนั้นแล้ว บางทีก็ยังถูกซ้ำเติมด้วยศัตรูพืช เช่น หนู แมลง ปลูกตั้งมาก ขยันแทบตาย แต่ได้ข้าวไม่พอกิน น่าสงสารมากครับ)
ภาพประกอบจาก : http://www.thaisiamboonphong.com/
การทำนาทั้งหลาย ก็ยังไม่โหดเท่าตอนที่บุกเบิกแผ้วถางเอาป่ามาทำเป็นนาข้าว (เมื่อก่อนก็เคยสงสัยครับว่า ทำไมเมืองจีนพื้นที่ตั้งกว้างใหญ่ไพศาล ปลูกข้าวไม่พอกิน เพราะจริง ๆ การปลูกข้าวมิใช่เรื่องง่าย บรรพบุรุษของเราเหนื่อยบุกเบิกกันมามาก กว่าเราจักได้สบายในวันนี้) สมัยก่อนมิได้มีเลื่อยยนต์เหมือนปัจจุบัน ต้องใช้แรงคน ช้าง ม้า วัว ควาย ทั้งสิ้นในการโค่นต้นไม้ โค่นเสร็จยังไม่พอ ต้องมาเผาตอไม้ เผาเสร็จแล้วยังต้องขุดรากมันขึ้นมาอีก ขุดเสร็จแทบรากเลือด ยังต้องมาปรับหน้าดินให้เรียบเสมอกัน ต้องทำคันนา อาการทั้งหมดนี้ เป็นอาการของสุขหรือทุกข์?
ถ้าคำตอบทั้งหมดคือทุกข์ แล้วเรายังจักพอใจการเกิดกันอีกหรือ? เพียงข้าวคำเดียวยังทุกข์ได้ขนาดนี้?
ท่านพิจารณาซ้ำ ๆ อยู่อย่างนี้ จนบรรลุอรหัตตผลครับ ภายในเวลาไม่ถึง ๒ เดือนดี
นั่นเป็นวิธีแบบฉบับของท่านครับ (ท่านอาจจะทำบุญด้วยข้าวมาเยอะ วัตถุมงคลยังมีชื่อว่า "พระคำข้าว" เลย) คนเราทุกคนมีวิธีบรรลุมรรคผลเป็นของตัวเอง ไม่เหมือนกันเลยสักคนเดียว ของท่านใช้การพิจารณาข้าวคำเดียว ของเราอาจเป็นอย่างอื่น กระนั้นการพิจารณาเรื่องทุกข์ของข้าวคำเดียวนี้ ก็เป็นสิ่งที่ควรระลึกถึง เพราะสิ่งใดที่ทำให้เราคลายความเมามันในกามคุณ ๕ มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น
ทีนี้ถ้าเรากำลังใจไม่ถึงอย่างนั้นเล่า จักพอมีวิธีอื่นให้พิจารณา ทำให้เรากินข้าวแล้วได้บุญทุกมื้อหรือไม่?
ปกติคนเราเวลาจะกินข้าว ก็ต้องไปเลือกสิ่งที่ตัวเองชอบมากินก่อน พอจานข้าวมาวางตรงหน้า ผนวกกับท้องที่กำลังหิว ก็ไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมแล้ว ใครจะกิน ใครจะไม่กิน กรูไม่สน กรูจะกินของกรูละ
วิธีกินให้ได้บุญ คือ พิจารณาก่อนครับ แค่เริ่มมาก็ได้บุญแล้ว ที่เรากินเพราะหิวนี่เรากินเพราะสัญชาตญาณครับ สัตว์เดรัจฉานก็ทำได้ แต่หากเราหยุดพิจารณาอาหารก่อนกิน นั่งมองมันสักแป๊บนึง นี่เราก็ได้บุญแล้ว บุญจากอะไรหนอ?
บุญจาก "สติ" ครับ
การที่เราเบรคตัวเอง ไม่โจนเข้าหาอาหารด้วยอำนาจแห่งความหิวนั้น เบื้องต้นท่านได้สติมาตุนติ๊ดนึงก่อนแล้ว เพราะคนทั่วไปส่วนใหญ่จะกินโดยขาดสติ รู้สึกตัวอีกที อะ อะ... อิ่มซะแล้ว!!!
(ความจริงตรงนี้ฝึกง่ายนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้ก่อนจะกินอะไร คนจะเบรคติ๊ดนึงอยู่แล้ว เฮ้ย... ตรูถ่ายรูปไปลงเฟสบุ๊คก่อนดีปะ? การทำเช่นนั้นได้สติ <คนขาดสตินั่นกว่าจะรู้ตัวว่าควรถ่ายรูปอาหารไปลงเฟสบุ๊ค ก็หมดไปแล้วค่อนจาน หรืออิ่มไปแล้วค่อยนึกได้> แต่ไม่ได้ปัญญา คือเป้าหมายมิได้ละตัวตน แต่พอกพูนตัวตน การพอกพูนตัวตน เป็นการเพิ่มทุกข์ มิใช่พ้นทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้ เราต้องมีทั้งสติและปัญญา)


บุญขั้นต่อไป คือเราต้องพิจารณาเห็นความจริงของอาหาร เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เราไม่มัวเมาไปใน รูป รส กลิ่น ซึ่งในสมถกรรมฐาน ๔๐ กอง มีกองหนึ่งเป็นเรื่องอาหารโดยตรง คือ อาหาเรปฏิกูลสัญญา
แปลว่า จงจำไว้นะ!!! ว่าอาหารที่เราเจี๊ยะกันอย่างหอเจี๊ยะหอเจ๊าะนี่ มันคือสิ่งสกปรก มีวิธีพิจารณาได้ล้านแปดตลบมาก จักลองยกตัวอย่างให้ดูสักเล็กน้อย
๑. ถ้าอาหารสะอาด มันคงไม่เน่า แต่ทิ้งไว้ไม่นานมันก็เน่าบูดทุกจานไป แสดงว่า มันมีเชื้อความสกปรกแฝงอยู่ในตัวมัน
๒. อาหารที่เป็นพืชนี่ เขาต้องใส่ปุ๋ย ปุ๋ยทั้งหลาย ก็อิขี้ดี ๆ นี่เอง เขาเอาขี้มารดต้นไม้ ทำให้มันงอกงาม เสร็จแล้ววาดภาพขี้ในใจไปด้วย รับรอง อาหารอร่อยแค่ไหน ก็กินไปงั้น ๆ แหละ บางทีพาลกินไม่ลงไปเลย 5555+
๓. อาหารที่เป็นเนื้อนี่ มันก็มาจากสัตว์ สัตว์ก็ไปกินพืช พืชก็มาจากขี้ ฉะนั้นเนื้อสัตว์น่ากินแค่ไหน มันก็มาจากขี้นั่้นเอง นึกภาพไปถึงที่เราปล่อยลงส้วมไปเมื่อเช้าด้วยครับ แหวะ ๆ ๆ ... เอิ๊ก ๆ
๔. จะบอกว่า อาหารสะอาด เพราะทำสุกแล้ว ฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อน ทว่าถ้าสะอาดจริง ทำไมหลังรับประทานเข้าไปแล้ว ก็ต้องไปแปรงฟัน ล้างปาก ล้างมือ ถ้ามันสะอาด มันก็คงต้องหอมหวลชวนดมไปตลอดจริงปะ?
๕. นอกจากอาหารจะสกปรกแล้ว อิตัวเราเองนี้ก็สกปรกด้วย อาหารที่ว่าสะอาด ๆ ลองเอาใส่ปากเคี้ยว ๆ สักหน่อย แล้วคายออกมาสิ จะกล้ากินเข้าไปใหม่ไหม? ถามว่า ทำไมไม่กิน ก็เพราะมันสกปรก อ้าว... เมื่อกี้มันยังสะอาดอยู่เลย เข้าไปกลั้วกับน้ำลายในปากเราแป๊บเดียว สกปรกไปแล้วเรอะ? ตกลงตัวเรานี้มันก็สกปรกโสโครกด้วยงั้นสิ?
๖. จริง ๆ แล้ว ร่างกายเรานี้มันก็สกปรกอิ๊บอ๋ายเลยแหละ ลองไม่อาบน้ำสักเจ็ดวันสิ เน่าสนิท ที่ว่าหอม ๆ สะอาด ๆ กันหน่ะ มันกลิ่นสบู่กลิ่นแชมพูกลิ่นน้ำหอมทั้งสิ้น บรรจงสรรหาทำกันก็เพื่อปกปิดความโสโครกของร่างกายเราชั่วคราวเท่านั้นเอง ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ต้องไปทำความสะอาดมันอีก แล้วเราจักยังพอใจผิวหนังกำพร้าบาง ๆ ที่ห่อหุ้มความโสโครกข้างในกันอีกหรือ? ลองลอกหนังกำพร้าออกมาสิ ทั้งน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง จักพร่างพรูออกมา ร่างกายเรามันก็เหมือนถุงห่อขี้ห่อเยี่ยวนั่นเอง โสโครกไปเสียหมด
อ้าว... คุยเรื่องอาหารสกปรกอยู่ ข้ามมาเรื่องอสุภะได้ไงเนี่ยะ ความจริงมันก็เรื่องเดียว ๆ กันหมดนั่นแล ไม่ว่าจะอาหาร หรือขี้ หรือตัวเรา ก็ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดินน้ำไฟลมสกปรกซกมกพอ ๆ กัน เพียงแต่เรามาพิจารณาให้เห็นความจริงเท่านั้น ท่านแนะไว้กรรมฐานกองนี้ เหมาะแก่ผู้ที่เป็นราคจริต ชอบอะไรสวย ๆ งาม ๆ เป็นระเบียบเรียบร้อยนั่นแล
นี่เรากินข้าวกันมื้อหนึ่ง ถ้าพิจารณาได้สักนิดสักหน่อย ไม่ต้องเยอะหรอก วันละนิดวันละหน่อยก็พอ ก็ได้บุญไปตุนกันเพียบเลย
หรือจะเอาแบบพระ เวลาพระฉันภัตตาหารนี่ ท่านพิจารณาว่า "ปฏิสังขา โยนิโส..." แปลว่า อาหารทั้งหลายนี้ ไม่ได้กินเพื่อความอิ่มหมีพีมันของร่างกาย ไม่ได้กินเพื่อความเมาในรูป ในรส ในกลิ่น กินเพื่อระงับเวทนาเก่า (ความหิว) บรรเทาเวทนาใหม่ กินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น...
อันนี้ก็ได้บุญมากเช่นกัน
ได้บุญมากที่สุด ก็ต้องพิจารณาเป็นไตรลักษณ์ กินก็ทุกข์ ไม่กินก็ทุกข์ กินก็แก่ ไม่กินก็แก่ กินก็ตาย ไม่กินก็ตาย บังคับอะไรไม่ได้ซ้ากอย่าง... หามีกระไรน่ายึดน่ามั่นหมาย คลายกำหนัด เข้าวิปัสสนา หลุดพ้นกันไปเลย อันนี้ก็ตามแต่อัธยาศัย และอินทรีย์อ่อนแก่ของแต่ละคน
ไม่เห็นจะยากเลยใช่ไหมล่า? มาเริ่มกินข้าวให้เป็นบุญกันครับ
เจริญธรรม ฯ
Share:

สั่งสมประสบการณ์ (ตอน ๗ - คิริมานนทสูตร)ตอนที่ 3by


IMG_2507ดับกิเลสตัณหาได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญเป็นกุศลมากเท่านั้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ การที่เราตถาคตต้องการให้บวชนั้น ก็เพื่อจะให้ได้บุญและกุศล อะไรชื่อว่าเป็นตัวบุญตัวกุศล ตัวบุญตัวกุศลนั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นคือความดับเสีย ซึ่งกิเลส การรักษากิจวัตร แลพระวินัยอย่างไรก็ตาม ถ้าดับกิเลสได้มากก็เป็นบุญมาก ถ้าดับกิเลสได้น้อยก็เป็นบุญน้อย ถ้าดับกิเลสไม่ได้ก็ไม่เป็นบุญเลย บาปอกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่น คือตัวกิเลสนั้นเอง กิเลสก็คือตัวตัณหานั้นเอง ดับกิเลสตัณหาได้เท่าใด ก็เป็นบุญเท่านั้น ถ้าดับกิเลสตัณหาไม่ได้ ก็เป็นอันไม่ได้บุญไม่ได้กุศล
ผู้ที่ไม่รู้จักบุญ และบาปนั้น มาทำความเข้าใจว่า บวชรักษาข้อวัตร รักษาศีลเอาบุญ บุญนั้นมีอยู่นอกตนนอกตัว มีอยู่ที่ดินฟ้าอากาศ เมื่อบวชได้รักษากิจวัตรแล้ว บุญนั้นจักเลื่อนลอยมา จากสถานที่ต่างๆ มีนภาลัย เวหากาศ เป็นต้น มานำเอาตัวขึ้นไปสู่สวรรค์ แลพระนิพพาน เห็นไปโดยผิดทางเช่นนี้ ล้วนแต่เป็นคนหลงทั้งสิ้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่ไม่รู้จักบาป เข้าใจว่าบาปนั้นอยู่นอกตนนอกตัว เมื่อทำบาปแล้ว บาปนั้นก็จะลุกมา แต่นรกใต้พื้นดิน มาจับกุมคุมเอาตัวลงไปสู่นรก การทำความเข้าใจอย่างนี้ ย่อมเป็นคนหลงทั้งนั้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ สุขก็ดีทุกข์ก็ดี บาปบุญคุณโทษก็ดี ย่อมอยู่ที่เรา จะเข้าใจว่า บาปบุญอยู่ภายนอกตัว ทำบุญแล้วคอยท่านบุญ จักมานำเอาตัวไปสู่สุคติ คิดอย่างนี้ ตั้งร้อยชาติแสนชาติ ก็ไม่อาจได้ อันว่าบุญบาป สุขทุกข์ย่อมไม่มี ณ ภายนอกตัว บุญกุศลแลความสุขนั้น ก็คือดวงจิต ส่วนบาปกรรม ทุกข์โทษนั้น คือหมู่แห่งตัณหา ตัณหานั้นจักมี ณ ที่อื่นนอกจากตัวตนของเราแล้ว ไม่มี ตัวบุญแลตัวบาป ก็อยู่ที่ใจของเรา เมื่อตัวไม่ชอบทุกข์ อยากได้ความสุข ก็จงพยายาม แก้ใจของเรานั้นเถิด ถ้าเราไม่เป็นผู้แสวงหาความสุข และให้พ้นจากทุกข์แล้ว ใครเขามาช่วยตัวเรา ให้พ้นจากทุกข์ ให้ได้รับความสุขได้เล่า เพราะสุขทุกข์ อยู่ที่ตัวของเรา เมื่อเราหามิได้แล้ว ใครคนอื่นที่ไหน เขาจะมาหาให้เราได้ (บทนี้บอกถึง หน้าตาของบุญและบาป ที่แท้จริง ผู้นับถือศาสนาพุทธบางคน รวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ยังมีความเข้าใจ เรื่องบุญบาปสวรรค์นรก คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อาตมาเอง ก็มีความเข้าใจไม่ชัดเจน มีแต่ใช้สัญญา (ความจำ) มาตลอด ก็ถ่ายทอดไปทั้งดุ้น ตามที่ได้ฟังมา ก็ยังโชคดี ที่ถ่ายทอดไปไม่ผิด มาถึงบางอ้อจาก พระสูตรนี้เอง ที่ว่าบุญ เกิดตั้งแต่คิดจะทำ ก็คือขณะที่คิดนั้น กิเลสโลภะ - ความโลภมันลด จริงไหม ที่ว่าทำบุญเมื่อไหร่ ได้บุญเมื่อนั้น ก็ทำบุญเมื่อไหร่ ความโลภมันน้อยลง เมื่อนั้นใช่หรือไม่ ที่ว่าเขาจะเอา ปัจจัยไทยทานของเรา ไปทำอะไร ตรงกับวัตถุประสงค์ของเรา หรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะบุญเกิดไปแล้ว ก็ถูกอีก เพราะเขาเอาไปทำอะไร ก็ไม่มีผลอะไร กับกิเลสของเรา มีผลก็แต่ กำลังใจของเราเท่านั้น คือถ้างานมันสำเร็จสมหวัง มันก็บังเกิดปีติ ชื่นใจ มีกำลังใจทำบุญ ทำกุศลต่อไป ตรงข้าม ถ้าเกิดเหตุการณ์ อย่างสมเด็จเหนือหัว คนทำบุญก็ทดท้อ ไม่อยากทำบุญอีก เป็นต้น แต่ถ้าทำกำลังใจ ถูกต้องแต่แรก ก็ได้บุญไปเรียบร้อย ถ้าไปคิดว่าที่เขาเอาเงินเราไป ไปทำอะไรก็ไม่รู้ วัตถุมงคล ก็ไม่รู้พิธีกรรมถูกต้องหรือเปล่า เจ็บใจเหลือเกินที่ถูกหลอก นี่ก็ขาดทุน ๒ ต่อเลย เสียทั้งเงินและไม่ได้บุญ ตามคำบอกของคน ที่ได้ทิพยจักขุญาณ ท่านแสดงไว้ว่า สมมติว่าทำวิหารทาน เพื่อจะได้มีวิมานในสวรรค์ ทำปุ๊บวิมานเกิดเลย ไม่ใช่ว่าสิ่งก่อสร้าง ที่เราไปช่วยเขาสร้าง สำเร็จแล้ววิมานถึงจะเกิด ทานที่ทำไปแล้วนั้น เมื่อคิดถึงอีกเมื่อไหร่ ก็ได้บุญอีกเมื่อนั้น ก็จริงอีก เพราะขณะที่คิดถึงการให้ ความโลภในใจ มันก็ไม่มีที่อยู่ เห็นไหม ทีนี้หากว่าทำทาน เพราะอยากได้บุญ (แล้วไม่รู้ว่าบุญหน้าตาเป็นอย่างไร) อยากได้วัตถุมงคล (ถ้าอยากมากๆ มันกลายเป็นซื้อของไป เหมือนซื้อของในเซเว่นหน่ะ ได้บุญไหมเอ่ย แต่วัตถุมงคลนี่ วินิจฉัยยาก เพราะเอาไปทำกรรมฐานได้ มันจะไปได้บุญ ตอนไปทำเป็นกรรมฐาน) ทำทานเพราะหวังจะถูกหวย ทำทานเพราะอยากได้หน้า ก็ต้องพิจารณาดูกำลังใจว่า ความโลภในใจ มันลดลงหรือไม่ ถ้าลดน้อยก็ได้บุญน้อย ถ้าไม่ลดเลยหรือมากขึ้น ก็ไม่ได้บุญเลย หรือซ้ำกลายเป็นบาปแทน แล้วไฉนการโมทนาบุญ หรือที่เขาเรียกว่า มุทิตาธรรม เห็นคนทำดี แล้วยินดีชื่นใจไปกับเขา ถึงได้บุญ ก็มันไปลดความริษยา ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ โทสะ - ความโกรธ ทำไมอภัยทาน ถึงเป็นทานอันยิ่ง กว่าอามิสทาน (ทานที่เป็นวัตถุ) ก็เพราะอภัยทาน มันไปลดกิเลสโทสะ กิเลสตัวสำคัญ ก็แล้วการฟังธรรม ทำไมถึงได้บุญ ไปนั่งหลังขดหลังแข็ง พนมมือ เมื่อยก็เมื่อย ไม่เห็นน่าจะได้บุญตรงไหน สู้ทำทานไม่ได้ สบายกายสบายใจกว่าอีก ที่ได้บุญก็เพราะ การฟังธรรม มันคือการทำความเห็นให้ตรง มันไปลดโมหะ - ความหลง กิเลสตัวเก่งอีกตัว ฉะนั้น การฟังธรรม ไม่จำเป็นแต่ต้องไปฟังในโบสถ์ ฟังที่ไหนก็ได้ ในรถ ในเรือ ในสวนสาธารณะ ที่ไหนท่าไหนก็ได้ ยิ่งละโมหะ อวิชชาได้มากเท่าไหร่ ก็ได้บุญมากเท่านั้น ธรรมทานก็สงเคราะห์เข้าหลักเดียวกัน อีกเรื่องคือเรื่องอานิสงส์ ตามความเข้าใจเดิมนั้น เข้าใจว่า บุญกับอานิสงส์ เป็นคนละตัวกัน สมมติว่าบริจาคทาน สร้างโรงพยาบาล บุญเกิดเมื่อคิดและให้ทาน อานิสงส์เกิดภายหลัง จากที่โรงพยาบาลสร้างเสร็จ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เป็นส่วนควบของบุญ แท้จริงแล้ว ตามความในพระสูตรนี้ หาใช่เช่นนั้น อานิสงส์แปลว่า “ผล” อะไรที่เป็นผล ก็เป็นอานิสงส์หมด สิ่งที่เป็นคนละตัวกันคือ บุญกับกุศลกรรมต่างหาก สมมติว่าบริจาคทาน สร้างโรงพยาบาล ด้วยความที่อยากได้หน้า นี่แสดงว่าทำบุญด้วยความโลภ ตรงนี้ไม่ได้บุญ แต่กุศลกรรม ที่ได้สร้างโรงพยาบาล ได้บรรเทาทุกข์ของผู้ที่ป่วยนั้น มีผลอยู่ จะได้เสวยผลเมื่อไหร่นั้นไม่แน่ แต่ได้เสวยผลแน่นอน ตรงนี้จะว่า ไม่มีอานิสงส์ก็ไม่ใช่ ต้องเรียกว่ามีอานิสงส์ แต่น้อยไปหน่อย)
บุญกุศล สวรรค์ และนิพพาน เกิดจากตัวเราเองไม่มีผู้ใดนำมาให้
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ที่เข้าใจว่าบุญกุศล สวรรค์ แลพระนิพพาน มีผู้นำมาให้ บาปกรรมทุกข์โทษ นรกและสัตว์เดรัจฉาน มีผู้พาไปทั้งสิ้น บุคคลผู้ที่เข้าใจอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้หลงโลก หลงทาง หลงสงสาร บุคคลจำพวกนั้น แม้จะทำบุญ ให้ทานสร้างกุศลใดๆ ที่สุดจนออกบวช ในพระพุทธศาสนา ก็หาความสุขมิได้ จะได้เสวยแต่ความทุกข์ โดยถ่ายเดียว อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุญกับสุข หากเป็นอันเดียวกัน เมื่อมีบุญก็ชื่อว่ามีความสุข บาปกับทุกข์ก็เป็นอันเดียวกัน เมื่อมีบาป ก็ได้ชื่อว่ามีทุกข์ ถ้าไม่รู้บาปก็ละบาปไม่ได้ ถ้าไม่รู้จักบุญก็หาบุญไม่ได้ เปรียบเหมือน เราอยากได้ทองคำ แต่เราหารู้ไม่ว่า ทองคำนั้นมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร ถึงทองคำนั้นมีอยู่ แลเห็นอยู่เต็มตา ก็ไม่อาจถือเอาได้ โดยเหตุที่ไม่รู้จัก แม้บุญก็เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักบุญก็หาบุญไม่ได้ อย่าว่าแต่บุญซึ่งเป็นของไม่มีรูปร่างเลย แม้แต่สิ่งของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง ถ้าหากว่าเรา ไม่รู้จักก็ถือเอาไม่ได้
1_displayอานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่ไม่รู้จักบุญแลไม่รู้จักสุข ทำบุญจะไม่ได้บุญ ไม่ได้สุขเสียเลย ตถาคตก็หาได้กล่าวเช่นนั้นไม่ ทำบุญก็คงได้บุญแล ได้สุขอยู่นั้นแล บุญแลความสุข ก็บังเกิดอยู่ที่ตัวเรานั้นเอง แต่ทว่าตัวหากไม่รู้ไม่เข้าใจ จึงเป็นอันมีบุญแลสุขไว้เปล่าๆ อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลจำพวกที่ไม่รู้จักบุญ คือความสุข เมื่อทำบุญแล้ว ปรารถนาเอาความสุข น่าสมเพชเวทนานักหนา ตัวทำบุญก็ได้บุญในทันใดนั้นเอง มิใช่ว่าเมื่อทำแล้วนานๆ จึงจักได้ ทำเวลาใดก็ได้เวลานั้น แต่ตัวไม่รู้ นั่งทับนอนทับบุญอยู่เปล่าๆ ตัวก็ไม่ได้รับบุญ คือความสุข เพราะตัวไม่รู้ จึงว่าเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่เข้าใจว่าทำบุญไว้มากๆแล้ว จะรู้แลไม่รู้ ก็ไม่เป็นไร บุญหากจักพาไปให้ ได้รับความสุขเองเช่นนี้ ชื่อว่าเป็นคนหลงโดยแท้ เพราะเหตุไร บุญจึงจักพาตัวไปให้ ได้รับความสุข เพราะบุญกับสุขเป็นอันเดียวกัน เมื่อไม่รู้สุขก็คือไม่รู้บุญ เมื่อเรารู้สุข เห็นสุข ก็คือเรารู้บุญ เห็นบุญนั้นเอง จะให้ใครพาไปหาใครที่ไหน (พระสูตรนี้ มีผู้นำไปตีความว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง นายนิรยบาลผู้พาไปนรกไม่มีจริง จริงแล้วสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจต่างหาก ก็จริงอยู่ แต่จริงโดยส่วนเดียว ส่วนอื่นยังมีอีก กรรมมีอยู่ กุศลกรรมก็มี อกุศลกรรมก็มี บุญบาปมิได้พาไปเกิด แต่กรรมพาไปเกิดได้ จะหาศาสนาใดในโลก แจกแจงได้ แจ่มแจ้งชัดเจนขนาดนี้ เหมือนหงายของที่คว่ำ เหมือนเปิดของที่ปิด เหมือนให้แสงสว่าง แก่ที่มืด เหมือนชำระนัยน์ตาอันพร่ามัว ด้วยน้ำอมฤต ส่วนใหญ่ กระทั่งคนในศาสนาพุทธเอง เขาจะรู้จักในแง่ บุญคือทาน ทำสะสมไว้เรื่อย บุญก็จะพาขึ้นสวรรค์ไปเอง หรือเมื่อตายแล้ว พระศาสดาจะมารับไปอยู่ด้วย เสวยสุขชั่วนิจนิรันดร์ รู้จักสวรรค์แค่ชั้นเดียว รู้ชาติหน้าแค่ชาติเดียว สอนให้ทำความดี ให้ขึ้นสวรรค์ ให้ไปพระนิพพาน พระนิพพานหรือ ก็คงคล้ายๆ สวรรค์ชั้นหนึ่งกระมัง เขาว่ากันว่ามีความสุขมาก แต่ชาตินี้คงยังไม่ถึงหรอก ตั้งความหวังเอาไว้ ว่าคงจะถึงสักวันหนึ่ง แต่ไม่เคยศึกษาสนใจว่า พระนิพพานเป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ถึงจะถึงพระนิพพาน เฉี่ยวไปเฉี่ยวมา ไม่เข้าเป้าเสียที และส่วนใหญ่ จะสอนไม่ให้คนคิด ไม่ให้สงสัย ไม่ให้ใคร่ครวญ สอนให้ไปติดสุข ติดกุศล ทำบุญทำทานมากๆ ซีแล้วจะได้ไปพระนิพพาน แท้จริงแล้ว ถ้ายังไม่ประกอบด้วยปัญญา ยังห่างไกลพระนิพพานอยู่มาก)
จะไปสวรรค์ พระนิพพาน ต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ จะไปนรกหรือจะไปสวรรค์ และพระนิพพานต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่น ไปด้วยไม่ได้เป็นอันขาด อานันทะ ดูก่อนอานนท์ สวรรค์ดิบในชาตินี้ กับสวรรค์สุกในชาติหน้า อย่าสงสัยว่าจะต่างกัน ถึงจะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อย เมื่อต้องการความสุขเพียงใด ก็จงพากเพียรให้ได้ แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ในเมืองคนนี้ จะนั่งจะนอนคอย ให้สุขมาหานั้นไม่ได้ ไม่เหมือนพระนิพพาน ความสุขในพระนิพพานนั้น ไม่ต้องขวนขวาย เมื่อจับถูกที่แล้ว นั่งสุขนอนสุขได้ทีเดียว ความสุขในพระนิพพาน จะว่ายากก็เหมือนง่าย จะว่าง่ายก็เหมือนยาก ที่ว่ายากนั้นเพราะ ไม่รู้ไม่เห็น พาลปุถุชนคนตามืดทั้งหลาย รู้ไม่ถูกที่ เห็นไม่ถูกที่ จับไม่ถูกที่ จึงต้องพากเพียรพยายาม หลายอย่างหลายประการ และเป็นการเปล่าจากประโยชน์ด้วย ส่วนท่านที่มีปัญญา พิจารณาถูกที่จับถูกที่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรให้ยาก หลายสิ่งหลายอย่าง นั่งๆ นอนๆ อยู่เปล่าๆ เท่านั้น ความสุขในพระนิพพาน ก็มาบังเกิดขึ้นแก่ท่านได้เสมอ เพราะเหตุฉะนั้นจึงว่า ความสุขในพระนิพพาน ไม่เป็นสุขที่เจือปนไปด้วยทุกข์ (ทางไปสวรรค์ นิพพาน เป็นทางแคบ เป็นทางของคนคนเดียว เวลาเกิด เราก็เกิดมาคนเดียว พ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็เพียงแสดงความยินดี เมื่อเราเกิดมา เวลาแก่ ไม่มีใครมาช่วยแก่ เวลาเจ็บ ไม่มีใครแบ่งความเจ็บไปได้ เวลาตาย ก็มีเพียงเราผู้เดียวที่ตาย พ่อแม่ญาติพี่น้องทั้งหลาย ไม่สามารถตาย ร่วมไปกับเราได้ หรือช่วยเรา จากความตายได้ คงมีแต่การ แสดงความโศกาอาดูร เอาใจช่วยเท่านั้น เช่นนี้สมเด็จพระภควันต์ จึงแสดงให้เห็นว่า เราไม่สามารถพาผู้อื่น ไปด้วยได้ ต้องปฏิบัติเอง เห็นเอง รู้เอง ถึงเอง)
อยากรู้ว่าได้รับความสุขหรือทุกข์ ให้สังเกตที่ใจของเราในเวลา ที่ยังไม่ตาย
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่ออยากรู้ว่า เราจะได้รับความสุขในสวรรค์ หรือจะได้รับความทุกข์ในนรก ก็จงสังเกตดูใจของเรา ในเวลาที่ยังไม่ตายนี้ เมื่อยังเป็นคนอยู่ มีสุขหรือมีทุกข์มากเท่าใด แม้เมื่อตายไป ก็คงมีสุขและมีทุกข์มากเท่านั้น ไม่มีพิเศษกว่ากัน บุคคลผู้ปรารถนาความสุขในภพนี้ และภพหน้าแล้ว จงรักษาใจ ให้ได้รับความสุข ส่วนตัวตนร่างกายข้างนอกนั้น ไม่สำคัญ จักได้รับความสุข ความทุกข์ประการใด ก็ช่างเถิด เมื่อตายแล้ว ก็ทิ้งอยู่เหนือแผ่นดินหาประโยชน์มิได้ ส่วนใจนั้นเป็นของติดตามตน ไปในอนาคตเบื้องหน้าได้ เพราะจิตใจเป็นของไม่ตาย ที่ว่าตายนั้น ตายแต่รูปร่างกาย ธาตุแตก ขันธ์ดับเท่านั้น ถ้าจิตใจตายแล้ว ก็ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตายต่อไปอีก กล่าวคือถึงพระนิพพาน
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ในอดีตชาติ เราตถาคตก็ได้หลงท่องเที่ยว อยู่ในสังสารวัฏนี้ช้านาน นับด้วยร้อยด้วยพันแห่งชาติ เป็นอันมาก ทำบุญทำกุศล ก็ปรารถนาแต่จักให้พ้นทุกข์ ให้เสวยสุขในเบื้องหน้า เข้าใจว่าตายแล้ว จึงจะพ้นจากทุกข์ ครั้นเมื่อตายจริง ก็ตายแต่ธาตุแต่ขันธ์เท่านั้น ส่วนใจนั้นไม่ตาย จึงต้องไปเกิดอีก เมื่อไปเกิดอีก ก็ต้องตายอีก เป็นเช่นนี้จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ที่นิยมกันว่าตาย ก็คือตายเน่าตายเหม็น กันอยู่อย่างทุกวันนี้ ชื่อว่าตายเล่นตายไม่แล้ว ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย หาต้นหาปลายมิได้ ที่ตายแท้ ตายจริง คือตายทั่งรูปแตกขันธ์ดับ ตายทั้งจิตทั้งใจ มีแต่พระพุทธเจ้า กับเหล่าพระอรหันต์ ขีณาสพเท่านั้น ท่านเหล่านี้ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ในอดีตชาติเมื่อเรายังไม่รู้ เข้าใจว่าตายแล้ว จึงจะพ้นทุกข์ ทำบุญทำกุศล ก็มุ่งเอาแต่ความสุขในเบื้องหน้า ครั้นตายไปก็หาได้พ้นจากทุกข์ ตามความประสงค์ไม่ มาในปัจฉิมชาตินี้ เราจึงรู้ว่าสวรรค์แลพระนิพพานนี้ มีอยู่ที่ตัวนี้เอง เราจึงได้รีบเร่งปฏิบัติ ให้ได้ถึงแต่เมื่อยังเป็นคนอยู่ จึงพ้นจากทุกข์และได้เสวยสุข อันปราศจากอามิส เป็นพระบรมครู สั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ทุกวันนี้ (ความจริงตรงนี้ น่าสนใจเป็นพิเศษ ธรรมดาผู้ไม่ได้ศึกษาธรรมะ มักจะคิดว่า สวรรค์เป็นอะไรที่สุขมาก แตกต่างจากชีวิตมนุษย์ อย่างสิ้นเชิง นรกเป็นอะไรที่ทุกข์มาก แตกต่างจาก ตอนเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ความจริงแล้วก็แตกต่างกัน เพียงไม่มีร่างกายเท่านั้น คนจะขึ้นสวรรค์ มันมีความสุขตั้งแต่มีชีวิตแล้ว ส่วนผู้ที่จะตกนรก ก็มีแต่ความเร่าร้อน ตั้งแต่ยังเป็นคนอยู่เทียว ส่วนการที่ไม่ให้สนใจร่างกาย ก็คือการพิจารณาขันธ์ ๕ ละอุปาทาน คิดว่า เป็นเรา เป็นของเรา เสียนั่นเอง)
สวรรค์ นิพพาน ต้องทำเองด้วยการ ดับกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ความทุกข์ในนรก และความสุขในสวรรค์ พระนิพพาน นั้นใครจะช่วยใครไม่ได้ เมื่อใครชอบอย่างใดก็ทำอย่างนั้น แม้เราตถาคตก็ช่วยใครให้พ้นทุกข์ และช่วยใครให้ได้สวรรค์ และพระนิพพานไม่ได้ ได้แต่เพียงสั่งสอน ชี้แจงให้รู้สุขรู้ทุกข์ ให้รู้สวรรค์ให้รู้พระนิพพาน ด้วยวาจาเท่านั้น อันกองทุกข์ โทษ บาปกรรมทั้งปวงนั้น ก็คือตัวกิเลสตัณหา ครั้นดับกิเลสตัณหาได้แล้ว ก็ไม่ต้องตกนรก ถ้าดับกิเลสตัณหาได้มาก ก็ขึ้นไปเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ ถ้าดับกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง หาเศษมิได้แล้ว ก็ได้เสวยสุข ในพระนิพพานทีเดียว เราตถาคตบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น ถ้าผู้รู้ทางแห่งความสุข แล้วประพฤติตามปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบสุขสมประสงค์ (อักขาตาโร ตถาคตา - ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก ชัดเจน)
สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ
DSCN0161อานันทะ ดูก่อนอานนท์ สุขทุกข์นั้นให้หมายที่จิต จิตสุขเป็นสวรรค์ จิตทุกข์เป็นนรก จะเข้าใจว่า นรกแลสวรรค์ มีอยู่นอกจิตนอกใจเช่นนั้น ได้ชื่อว่าเป็นคนหลง นรกแลสวรรค์ บาปบุญคุณโทษ ย่อมมีอยู่ในอกในใจทั้งสิ้น อยากพ้นทุกข์ก็ให้รักษาจิตใจ จากสิ่งที่เป็นบาปเป็นทุกข์เสีย ถ้าต้องการสวรรค์ ก็ทำการงานที่หาโทษมิได้ แลถ้าอยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ให้วางเสียซึ่งสุขและทุกข์ คือวางจิตใจ อย่าถือว่าเป็นของๆ ตน (การที่ดูจิตแล้วพบว่า อารมณ์เศร้าหมอง หรืออารมณ์เบิกบาน ไม่ใช่หลักประกันยืนยันว่า เมื่อตายแล้วจะไปสวรรค์ หรือนรก ขึ้นกับจิตสุดท้าย ตอนตายเป็นที่สุด ดังมีตัวอย่างมาในธรรมบท เรื่องมัฏฐกุลฑลีเทพบุตร ที่พลิกโผ ทำบาปชั่วมาทั้งชีวิต ตอนตายคิดถึงพระพุทธเจ้าหน่อยเดียว ก็ไปเสวยความสุขในสวรรค์ก่อน ส่วนพระนางมัลลิกาเทวี ทำดีมาตลอดชีวิต ถึงขั้นถวายอสทิสทาน ตอนตายจิตจับอกุศลนิดเดียว ที่เคยสะดุดเท้าพระสวามี เอาเท้าไปแช่ในนรกเสีย ๗ วัน แต่จะถือเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตโดยประมาทว่า เดี๋ยวไปทำดีตอนตายนิดเดียว ก็ได้ไปสวรรค์ เช่นนั้นมันก็ไม่ถูก ส่วนใหญ่กรรมชั่ว มันจะดึงลงต่ำ กรรมดีมันจะดึงขึ้นสูง ๒,๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา มีใครเป็นอย่างท่านทั้ง ๒ บ้าง ก็น้อยกว่าน้อย พระไตรปิฎกนั้น ยกขึ้นให้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ว่าเหตุการณ์เช่นนี้มีนะ ไม่ใช่ไม่มี อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ - ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม อัปปมาโท อมตัง ปทัง - ความไม่ประมาท เป็นทางของความเป็นอมตะ ปมาโท มัจจุโน ปทัง - ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ส่วนใหญ่ผู้ที่จิต เป็นสุขสม่ำเสมอ ก็มีแนวโน้มจะขึ้นสวรรค์ เสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้ที่มีจิตเศร้าหมอง เป็นส่วนมาก ก็มีแนวโน้มจะไปอบายภูมิ)
หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่ปรารถนาความสุขในพระนิพพาน จงทำตัวให้เหมือนแผ่นดิน หรือเหมือนดังคนตายแล้ว คือให้ปล่อยความสุข แลความทุกข์เสีย ข้อสำคัญก็คือ ให้ดับกิเลส ๑,๕๐๐ นั้นเสีย
กิเลส ๑,๕๐๐ นั้น เมื่อย่นลงให้สั้นแล้วก็เหลืออยู่ ๕ เท่านั้น คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑
โลภะนั้น คือความทะเยอทะยาน มุ่งหวังอยากได้กิเลสกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑, อยากได้วัตถุกาม คือ สมบัติข้าวของ ซึ่งมีวิญญาณแลหาวิญญาณมิได้ ๑ เหล่านี้ชื่อว่า โลภะ
โทสะนั้น ได้แก่ความเคืองแค้น ประทุษร้าย เบียดเบียนท่านผู้อื่น ชื่อว่าโทสะ
โมหะนั้น คือความหลง มีหลงรัก หลงชัง หลงลาภ หลงยศ เป็นต้น ชื่อว่าโมหะ
มานะนั้น คือ ความถือตัว ถือตน ดูถูก ดูหมิ่น ท่านผู้อื่น ชื่อว่ามานะ
ทิฏฐินั้น คือความถือมั่น ในลัทธิอันผิด เห็นเป็นอุจเฉททิฏฐิ แลสัสสตทิฏฐิไป ปล่อยวางความเห็นผิดไม่ได้ ชื่อว่าทิฏฐิ
ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ได้แล้ว ก็ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นทั้ง ๑,๕๐๐ ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ไม่ได้ ก็ชื่อว่าดับกิเลสไม่ได้เลย
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ แท้ที่จริงพระนิพพานนั้น ไม่มีอยู่ในที่อื่นไกลเลย หากมีอยู่ที่จิตใจนั้นเอง ครั้นดับ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ได้ขาดแล้ว ก็ถึงพระนิพพานเท่านั้น ถ้าไม่รู้แลดับกิเลสตัณหายังไม่ได้ เป็นแต่ปรารถนาว่าขอให้ได้พระนิพพานดังนี้ แม้สิ้นหมื่นชาติแสนชาติ ก็ไม่ได้พบปะเลย เพราะกิเลสตัณหาทั้งหลาย ย่อมมีอยู่ที่ตัวตนของเราทั้งสิ้น (หากสนใจจะศึกษา วิธีดับกิเลส ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก ในที่นี้ย่นย่อมาให้เพียงสังเขป) ฯ
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่วัดหลวงตาพวงนี่ท่านกำลังจะสร้างศาลาครอบองค์พระขนาด ๘ ศอกที่สร้างไว้ตากแดดตากฝนอยู่ ไหนๆ จะสร้างแล้วก็เลยจะสร้างเป็น ศาลาปฏิบัติธรรมไปเลย พระพุทธรูปองค์นี้สมัยที่เทปูนองค์พระ โยมที่อุปัฏฐากหลวงตามากว่า ๔ ปีเล่าให้ฟังว่า ไม่ทราบว่าคน แห่แหนมาจากไหน เป็นร้อยคนมาช่วยงาน ทั้งที่วัดหลวงตาก็อยู่ในป่าในดง (ขนาดไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงคิดดูละกัน ห่างจากกรุงเทพฯ แค่สองร้อยกว่ากิโล แต่ไม่มีไฟฟ้าใช้) ชาวบ้านในพื้นที่แถวนั้นก็ไม่เกิน ๓๐-๔๐ คน ไม่รู้ว่าเขาทราบข่าว การสร้างพระได้อย่างไร ขนาดเจ้าคณะตำบลยังไม่ทราบเลย ในจำนวนคนที่มาช่วยเทพระนี่โยมเขาเล่าว่า บางคนก็ไม่กระพริบตา แล้วทราบมาอีกว่า ท่านไม่เคยพิมพ์ซองผ้าป่าแจกเลย ทีแรกนึกว่าวัดท่านเป็นที่พักสงฆ์ ออกซองเรี่ยไรไม่ได้ จริงๆ แล้วออกได้ แต่ที่ท่านไม่ออกซอง เพราะกลัวจะกลายเป็นการทำบุญ เพราะเกรงใจ มันจะไม่ได้บุญเท่าที่ควร นี่แสดงให้เห็นว่า ท่านเห็นญาติโยม สำคัญกว่าตัวท่านเอง เป็นการสืบสาน มโนปณิธานของหลวงพ่อ ไว้อย่างเยี่ยมยอด กล่าวคือ หลวงพ่อท่าน สร้างสิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย มิใช่เพื่อตนเอง แต่ทนตรากตรำเหน็ดเหนื่อย ก็เพื่อช่วยให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสทำสังฆทาน ทำวิหารทาน อันจะส่งผล ให้ไปมีวิมานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อาตมาเห็นท่านสร้างแล้ว รู้สึกอยากช่วยงานของท่าน เพราะท่านเป็นพระ มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นอย่างสูง ชนิดเอาชีวิตเข้าแลก เข้าป่าไปปฏิบัติในถ้ำ ด้วยตนเองมากว่า ๒๐ ปี อาหารไม่มี ก็ฉันปลากระป๋อง กับหน่อไม้มาเป็นปีๆ สมัยก่อนน้ำไม่มี ภาชนะเก็บน้ำไม่มี ก็ต้องไปแบกมาจากที่ไกล ผ่านความยากลำบาก นานัปการ ท่านก็ต่อสู้ฝ่าฟันมา จนปัจจุบัน วัดเป็นรูปเป็นร่าง มีน้ำบาดาล มีไฟปั่น มีศาลา มีกุฏิ ทว่าสังขารท่านเสื่อมโทรมไปมาก ฟันก็หลุดหมดเพราะขาดสารอาหาร (หมดเกลี้ยงเลย ไม่เหลือสักซี่) ตาข้างหนึ่งบอดไปแล้ว อีกข้างหนึ่งก็เห็นมัว ๆ ด้วยต้อหิน ไม่มีทางรักษา มีแต่จะบอดช้า หรือบอดเร็วเท่านั้น กระนั้นท่านก็ยังมีจิตเมตตา คิดจะสร้างสถานที่ แห่งนี้ไว้ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป ท่านว่ามีก็ทำ ไม่มีก็ไม่ทำ ขนาดไม่เคยเรี่ยไร ตอนนี้ยังมีคนถวายปัจจัยให้ท่านสร้าง ร่วมห้าหมื่นแล้ว อาตมาไปดูความมัธยัสถ์ของท่านแล้ว คิดว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ คงจะได้ใช้อย่างคุ้มค่า ดูเอาเถิดอย่างงานถมดิน เกลี่ยพื้นที่ให้เสมอกัน ก่อนจะขึ้นศาลา ท่านว่าประมาณ ๕,๐๐๐ บาทเท่านั้น งบประมาณ ในการสร้างศาลา ท่านว่าจะขึ้นเสาสัก ๑๒ ต้น งบประมาณอยู่ราวๆ แสนกว่าบาท ใครสนใจทำวิหารทาน อันเป็นอามิสทาน ที่มีอานิสงส์สูงสุดในพระพุทธศาสนา ก็ขอเชิญร่วมทำบุญได้ บาทเดียวก็ได้อานิสงส์เสมอกัน เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ
 
 
Share:

สั่งสมประสบการณ์ (ตอน ๗ - คิริมานนทสูตร)ตอนที่ 3by Dhammasarokikku


IMG_2507ดับกิเลสตัณหาได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญเป็นกุศลมากเท่านั้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ การที่เราตถาคตต้องการให้บวชนั้น ก็เพื่อจะให้ได้บุญและกุศล อะไรชื่อว่าเป็นตัวบุญตัวกุศล ตัวบุญตัวกุศลนั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นคือความดับเสีย ซึ่งกิเลส การรักษากิจวัตร แลพระวินัยอย่างไรก็ตาม ถ้าดับกิเลสได้มากก็เป็นบุญมาก ถ้าดับกิเลสได้น้อยก็เป็นบุญน้อย ถ้าดับกิเลสไม่ได้ก็ไม่เป็นบุญเลย บาปอกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่น คือตัวกิเลสนั้นเอง กิเลสก็คือตัวตัณหานั้นเอง ดับกิเลสตัณหาได้เท่าใด ก็เป็นบุญเท่านั้น ถ้าดับกิเลสตัณหาไม่ได้ ก็เป็นอันไม่ได้บุญไม่ได้กุศล
ผู้ที่ไม่รู้จักบุญ และบาปนั้น มาทำความเข้าใจว่า บวชรักษาข้อวัตร รักษาศีลเอาบุญ บุญนั้นมีอยู่นอกตนนอกตัว มีอยู่ที่ดินฟ้าอากาศ เมื่อบวชได้รักษากิจวัตรแล้ว บุญนั้นจักเลื่อนลอยมา จากสถานที่ต่างๆ มีนภาลัย เวหากาศ เป็นต้น มานำเอาตัวขึ้นไปสู่สวรรค์ แลพระนิพพาน เห็นไปโดยผิดทางเช่นนี้ ล้วนแต่เป็นคนหลงทั้งสิ้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่ไม่รู้จักบาป เข้าใจว่าบาปนั้นอยู่นอกตนนอกตัว เมื่อทำบาปแล้ว บาปนั้นก็จะลุกมา แต่นรกใต้พื้นดิน มาจับกุมคุมเอาตัวลงไปสู่นรก การทำความเข้าใจอย่างนี้ ย่อมเป็นคนหลงทั้งนั้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ สุขก็ดีทุกข์ก็ดี บาปบุญคุณโทษก็ดี ย่อมอยู่ที่เรา จะเข้าใจว่า บาปบุญอยู่ภายนอกตัว ทำบุญแล้วคอยท่านบุญ จักมานำเอาตัวไปสู่สุคติ คิดอย่างนี้ ตั้งร้อยชาติแสนชาติ ก็ไม่อาจได้ อันว่าบุญบาป สุขทุกข์ย่อมไม่มี ณ ภายนอกตัว บุญกุศลแลความสุขนั้น ก็คือดวงจิต ส่วนบาปกรรม ทุกข์โทษนั้น คือหมู่แห่งตัณหา ตัณหานั้นจักมี ณ ที่อื่นนอกจากตัวตนของเราแล้ว ไม่มี ตัวบุญแลตัวบาป ก็อยู่ที่ใจของเรา เมื่อตัวไม่ชอบทุกข์ อยากได้ความสุข ก็จงพยายาม แก้ใจของเรานั้นเถิด ถ้าเราไม่เป็นผู้แสวงหาความสุข และให้พ้นจากทุกข์แล้ว ใครเขามาช่วยตัวเรา ให้พ้นจากทุกข์ ให้ได้รับความสุขได้เล่า เพราะสุขทุกข์ อยู่ที่ตัวของเรา เมื่อเราหามิได้แล้ว ใครคนอื่นที่ไหน เขาจะมาหาให้เราได้ (บทนี้บอกถึง หน้าตาของบุญและบาป ที่แท้จริง ผู้นับถือศาสนาพุทธบางคน รวมถึงผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ยังมีความเข้าใจ เรื่องบุญบาปสวรรค์นรก คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อาตมาเอง ก็มีความเข้าใจไม่ชัดเจน มีแต่ใช้สัญญา (ความจำ) มาตลอด ก็ถ่ายทอดไปทั้งดุ้น ตามที่ได้ฟังมา ก็ยังโชคดี ที่ถ่ายทอดไปไม่ผิด มาถึงบางอ้อจาก พระสูตรนี้เอง ที่ว่าบุญ เกิดตั้งแต่คิดจะทำ ก็คือขณะที่คิดนั้น กิเลสโลภะ - ความโลภมันลด จริงไหม ที่ว่าทำบุญเมื่อไหร่ ได้บุญเมื่อนั้น ก็ทำบุญเมื่อไหร่ ความโลภมันน้อยลง เมื่อนั้นใช่หรือไม่ ที่ว่าเขาจะเอา ปัจจัยไทยทานของเรา ไปทำอะไร ตรงกับวัตถุประสงค์ของเรา หรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะบุญเกิดไปแล้ว ก็ถูกอีก เพราะเขาเอาไปทำอะไร ก็ไม่มีผลอะไร กับกิเลสของเรา มีผลก็แต่ กำลังใจของเราเท่านั้น คือถ้างานมันสำเร็จสมหวัง มันก็บังเกิดปีติ ชื่นใจ มีกำลังใจทำบุญ ทำกุศลต่อไป ตรงข้าม ถ้าเกิดเหตุการณ์ อย่างสมเด็จเหนือหัว คนทำบุญก็ทดท้อ ไม่อยากทำบุญอีก เป็นต้น แต่ถ้าทำกำลังใจ ถูกต้องแต่แรก ก็ได้บุญไปเรียบร้อย ถ้าไปคิดว่าที่เขาเอาเงินเราไป ไปทำอะไรก็ไม่รู้ วัตถุมงคล ก็ไม่รู้พิธีกรรมถูกต้องหรือเปล่า เจ็บใจเหลือเกินที่ถูกหลอก นี่ก็ขาดทุน ๒ ต่อเลย เสียทั้งเงินและไม่ได้บุญ ตามคำบอกของคน ที่ได้ทิพยจักขุญาณ ท่านแสดงไว้ว่า สมมติว่าทำวิหารทาน เพื่อจะได้มีวิมานในสวรรค์ ทำปุ๊บวิมานเกิดเลย ไม่ใช่ว่าสิ่งก่อสร้าง ที่เราไปช่วยเขาสร้าง สำเร็จแล้ววิมานถึงจะเกิด ทานที่ทำไปแล้วนั้น เมื่อคิดถึงอีกเมื่อไหร่ ก็ได้บุญอีกเมื่อนั้น ก็จริงอีก เพราะขณะที่คิดถึงการให้ ความโลภในใจ มันก็ไม่มีที่อยู่ เห็นไหม ทีนี้หากว่าทำทาน เพราะอยากได้บุญ (แล้วไม่รู้ว่าบุญหน้าตาเป็นอย่างไร) อยากได้วัตถุมงคล (ถ้าอยากมากๆ มันกลายเป็นซื้อของไป เหมือนซื้อของในเซเว่นหน่ะ ได้บุญไหมเอ่ย แต่วัตถุมงคลนี่ วินิจฉัยยาก เพราะเอาไปทำกรรมฐานได้ มันจะไปได้บุญ ตอนไปทำเป็นกรรมฐาน) ทำทานเพราะหวังจะถูกหวย ทำทานเพราะอยากได้หน้า ก็ต้องพิจารณาดูกำลังใจว่า ความโลภในใจ มันลดลงหรือไม่ ถ้าลดน้อยก็ได้บุญน้อย ถ้าไม่ลดเลยหรือมากขึ้น ก็ไม่ได้บุญเลย หรือซ้ำกลายเป็นบาปแทน แล้วไฉนการโมทนาบุญ หรือที่เขาเรียกว่า มุทิตาธรรม เห็นคนทำดี แล้วยินดีชื่นใจไปกับเขา ถึงได้บุญ ก็มันไปลดความริษยา ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ โทสะ - ความโกรธ ทำไมอภัยทาน ถึงเป็นทานอันยิ่ง กว่าอามิสทาน (ทานที่เป็นวัตถุ) ก็เพราะอภัยทาน มันไปลดกิเลสโทสะ กิเลสตัวสำคัญ ก็แล้วการฟังธรรม ทำไมถึงได้บุญ ไปนั่งหลังขดหลังแข็ง พนมมือ เมื่อยก็เมื่อย ไม่เห็นน่าจะได้บุญตรงไหน สู้ทำทานไม่ได้ สบายกายสบายใจกว่าอีก ที่ได้บุญก็เพราะ การฟังธรรม มันคือการทำความเห็นให้ตรง มันไปลดโมหะ - ความหลง กิเลสตัวเก่งอีกตัว ฉะนั้น การฟังธรรม ไม่จำเป็นแต่ต้องไปฟังในโบสถ์ ฟังที่ไหนก็ได้ ในรถ ในเรือ ในสวนสาธารณะ ที่ไหนท่าไหนก็ได้ ยิ่งละโมหะ อวิชชาได้มากเท่าไหร่ ก็ได้บุญมากเท่านั้น ธรรมทานก็สงเคราะห์เข้าหลักเดียวกัน อีกเรื่องคือเรื่องอานิสงส์ ตามความเข้าใจเดิมนั้น เข้าใจว่า บุญกับอานิสงส์ เป็นคนละตัวกัน สมมติว่าบริจาคทาน สร้างโรงพยาบาล บุญเกิดเมื่อคิดและให้ทาน อานิสงส์เกิดภายหลัง จากที่โรงพยาบาลสร้างเสร็จ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เป็นส่วนควบของบุญ แท้จริงแล้ว ตามความในพระสูตรนี้ หาใช่เช่นนั้น อานิสงส์แปลว่า “ผล” อะไรที่เป็นผล ก็เป็นอานิสงส์หมด สิ่งที่เป็นคนละตัวกันคือ บุญกับกุศลกรรมต่างหาก สมมติว่าบริจาคทาน สร้างโรงพยาบาล ด้วยความที่อยากได้หน้า นี่แสดงว่าทำบุญด้วยความโลภ ตรงนี้ไม่ได้บุญ แต่กุศลกรรม ที่ได้สร้างโรงพยาบาล ได้บรรเทาทุกข์ของผู้ที่ป่วยนั้น มีผลอยู่ จะได้เสวยผลเมื่อไหร่นั้นไม่แน่ แต่ได้เสวยผลแน่นอน ตรงนี้จะว่า ไม่มีอานิสงส์ก็ไม่ใช่ ต้องเรียกว่ามีอานิสงส์ แต่น้อยไปหน่อย)
บุญกุศล สวรรค์ และนิพพาน เกิดจากตัวเราเองไม่มีผู้ใดนำมาให้
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ที่เข้าใจว่าบุญกุศล สวรรค์ แลพระนิพพาน มีผู้นำมาให้ บาปกรรมทุกข์โทษ นรกและสัตว์เดรัจฉาน มีผู้พาไปทั้งสิ้น บุคคลผู้ที่เข้าใจอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้หลงโลก หลงทาง หลงสงสาร บุคคลจำพวกนั้น แม้จะทำบุญ ให้ทานสร้างกุศลใดๆ ที่สุดจนออกบวช ในพระพุทธศาสนา ก็หาความสุขมิได้ จะได้เสวยแต่ความทุกข์ โดยถ่ายเดียว อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุญกับสุข หากเป็นอันเดียวกัน เมื่อมีบุญก็ชื่อว่ามีความสุข บาปกับทุกข์ก็เป็นอันเดียวกัน เมื่อมีบาป ก็ได้ชื่อว่ามีทุกข์ ถ้าไม่รู้บาปก็ละบาปไม่ได้ ถ้าไม่รู้จักบุญก็หาบุญไม่ได้ เปรียบเหมือน เราอยากได้ทองคำ แต่เราหารู้ไม่ว่า ทองคำนั้นมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร ถึงทองคำนั้นมีอยู่ แลเห็นอยู่เต็มตา ก็ไม่อาจถือเอาได้ โดยเหตุที่ไม่รู้จัก แม้บุญก็เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักบุญก็หาบุญไม่ได้ อย่าว่าแต่บุญซึ่งเป็นของไม่มีรูปร่างเลย แม้แต่สิ่งของอื่น ๆ ที่มีรูปร่าง ถ้าหากว่าเรา ไม่รู้จักก็ถือเอาไม่ได้
1_displayอานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่ไม่รู้จักบุญแลไม่รู้จักสุข ทำบุญจะไม่ได้บุญ ไม่ได้สุขเสียเลย ตถาคตก็หาได้กล่าวเช่นนั้นไม่ ทำบุญก็คงได้บุญแล ได้สุขอยู่นั้นแล บุญแลความสุข ก็บังเกิดอยู่ที่ตัวเรานั้นเอง แต่ทว่าตัวหากไม่รู้ไม่เข้าใจ จึงเป็นอันมีบุญแลสุขไว้เปล่าๆ อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลจำพวกที่ไม่รู้จักบุญ คือความสุข เมื่อทำบุญแล้ว ปรารถนาเอาความสุข น่าสมเพชเวทนานักหนา ตัวทำบุญก็ได้บุญในทันใดนั้นเอง มิใช่ว่าเมื่อทำแล้วนานๆ จึงจักได้ ทำเวลาใดก็ได้เวลานั้น แต่ตัวไม่รู้ นั่งทับนอนทับบุญอยู่เปล่าๆ ตัวก็ไม่ได้รับบุญ คือความสุข เพราะตัวไม่รู้ จึงว่าเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลที่เข้าใจว่าทำบุญไว้มากๆแล้ว จะรู้แลไม่รู้ ก็ไม่เป็นไร บุญหากจักพาไปให้ ได้รับความสุขเองเช่นนี้ ชื่อว่าเป็นคนหลงโดยแท้ เพราะเหตุไร บุญจึงจักพาตัวไปให้ ได้รับความสุข เพราะบุญกับสุขเป็นอันเดียวกัน เมื่อไม่รู้สุขก็คือไม่รู้บุญ เมื่อเรารู้สุข เห็นสุข ก็คือเรารู้บุญ เห็นบุญนั้นเอง จะให้ใครพาไปหาใครที่ไหน (พระสูตรนี้ มีผู้นำไปตีความว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง นายนิรยบาลผู้พาไปนรกไม่มีจริง จริงแล้วสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจต่างหาก ก็จริงอยู่ แต่จริงโดยส่วนเดียว ส่วนอื่นยังมีอีก กรรมมีอยู่ กุศลกรรมก็มี อกุศลกรรมก็มี บุญบาปมิได้พาไปเกิด แต่กรรมพาไปเกิดได้ จะหาศาสนาใดในโลก แจกแจงได้ แจ่มแจ้งชัดเจนขนาดนี้ เหมือนหงายของที่คว่ำ เหมือนเปิดของที่ปิด เหมือนให้แสงสว่าง แก่ที่มืด เหมือนชำระนัยน์ตาอันพร่ามัว ด้วยน้ำอมฤต ส่วนใหญ่ กระทั่งคนในศาสนาพุทธเอง เขาจะรู้จักในแง่ บุญคือทาน ทำสะสมไว้เรื่อย บุญก็จะพาขึ้นสวรรค์ไปเอง หรือเมื่อตายแล้ว พระศาสดาจะมารับไปอยู่ด้วย เสวยสุขชั่วนิจนิรันดร์ รู้จักสวรรค์แค่ชั้นเดียว รู้ชาติหน้าแค่ชาติเดียว สอนให้ทำความดี ให้ขึ้นสวรรค์ ให้ไปพระนิพพาน พระนิพพานหรือ ก็คงคล้ายๆ สวรรค์ชั้นหนึ่งกระมัง เขาว่ากันว่ามีความสุขมาก แต่ชาตินี้คงยังไม่ถึงหรอก ตั้งความหวังเอาไว้ ว่าคงจะถึงสักวันหนึ่ง แต่ไม่เคยศึกษาสนใจว่า พระนิพพานเป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ถึงจะถึงพระนิพพาน เฉี่ยวไปเฉี่ยวมา ไม่เข้าเป้าเสียที และส่วนใหญ่ จะสอนไม่ให้คนคิด ไม่ให้สงสัย ไม่ให้ใคร่ครวญ สอนให้ไปติดสุข ติดกุศล ทำบุญทำทานมากๆ ซีแล้วจะได้ไปพระนิพพาน แท้จริงแล้ว ถ้ายังไม่ประกอบด้วยปัญญา ยังห่างไกลพระนิพพานอยู่มาก)
จะไปสวรรค์ พระนิพพาน ต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ จะไปนรกหรือจะไปสวรรค์ และพระนิพพานต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่น ไปด้วยไม่ได้เป็นอันขาด อานันทะ ดูก่อนอานนท์ สวรรค์ดิบในชาตินี้ กับสวรรค์สุกในชาติหน้า อย่าสงสัยว่าจะต่างกัน ถึงจะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อย เมื่อต้องการความสุขเพียงใด ก็จงพากเพียรให้ได้ แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ในเมืองคนนี้ จะนั่งจะนอนคอย ให้สุขมาหานั้นไม่ได้ ไม่เหมือนพระนิพพาน ความสุขในพระนิพพานนั้น ไม่ต้องขวนขวาย เมื่อจับถูกที่แล้ว นั่งสุขนอนสุขได้ทีเดียว ความสุขในพระนิพพาน จะว่ายากก็เหมือนง่าย จะว่าง่ายก็เหมือนยาก ที่ว่ายากนั้นเพราะ ไม่รู้ไม่เห็น พาลปุถุชนคนตามืดทั้งหลาย รู้ไม่ถูกที่ เห็นไม่ถูกที่ จับไม่ถูกที่ จึงต้องพากเพียรพยายาม หลายอย่างหลายประการ และเป็นการเปล่าจากประโยชน์ด้วย ส่วนท่านที่มีปัญญา พิจารณาถูกที่จับถูกที่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรให้ยาก หลายสิ่งหลายอย่าง นั่งๆ นอนๆ อยู่เปล่าๆ เท่านั้น ความสุขในพระนิพพาน ก็มาบังเกิดขึ้นแก่ท่านได้เสมอ เพราะเหตุฉะนั้นจึงว่า ความสุขในพระนิพพาน ไม่เป็นสุขที่เจือปนไปด้วยทุกข์ (ทางไปสวรรค์ นิพพาน เป็นทางแคบ เป็นทางของคนคนเดียว เวลาเกิด เราก็เกิดมาคนเดียว พ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็เพียงแสดงความยินดี เมื่อเราเกิดมา เวลาแก่ ไม่มีใครมาช่วยแก่ เวลาเจ็บ ไม่มีใครแบ่งความเจ็บไปได้ เวลาตาย ก็มีเพียงเราผู้เดียวที่ตาย พ่อแม่ญาติพี่น้องทั้งหลาย ไม่สามารถตาย ร่วมไปกับเราได้ หรือช่วยเรา จากความตายได้ คงมีแต่การ แสดงความโศกาอาดูร เอาใจช่วยเท่านั้น เช่นนี้สมเด็จพระภควันต์ จึงแสดงให้เห็นว่า เราไม่สามารถพาผู้อื่น ไปด้วยได้ ต้องปฏิบัติเอง เห็นเอง รู้เอง ถึงเอง)
อยากรู้ว่าได้รับความสุขหรือทุกข์ ให้สังเกตที่ใจของเราในเวลา ที่ยังไม่ตาย
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่ออยากรู้ว่า เราจะได้รับความสุขในสวรรค์ หรือจะได้รับความทุกข์ในนรก ก็จงสังเกตดูใจของเรา ในเวลาที่ยังไม่ตายนี้ เมื่อยังเป็นคนอยู่ มีสุขหรือมีทุกข์มากเท่าใด แม้เมื่อตายไป ก็คงมีสุขและมีทุกข์มากเท่านั้น ไม่มีพิเศษกว่ากัน บุคคลผู้ปรารถนาความสุขในภพนี้ และภพหน้าแล้ว จงรักษาใจ ให้ได้รับความสุข ส่วนตัวตนร่างกายข้างนอกนั้น ไม่สำคัญ จักได้รับความสุข ความทุกข์ประการใด ก็ช่างเถิด เมื่อตายแล้ว ก็ทิ้งอยู่เหนือแผ่นดินหาประโยชน์มิได้ ส่วนใจนั้นเป็นของติดตามตน ไปในอนาคตเบื้องหน้าได้ เพราะจิตใจเป็นของไม่ตาย ที่ว่าตายนั้น ตายแต่รูปร่างกาย ธาตุแตก ขันธ์ดับเท่านั้น ถ้าจิตใจตายแล้ว ก็ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตายต่อไปอีก กล่าวคือถึงพระนิพพาน
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ในอดีตชาติ เราตถาคตก็ได้หลงท่องเที่ยว อยู่ในสังสารวัฏนี้ช้านาน นับด้วยร้อยด้วยพันแห่งชาติ เป็นอันมาก ทำบุญทำกุศล ก็ปรารถนาแต่จักให้พ้นทุกข์ ให้เสวยสุขในเบื้องหน้า เข้าใจว่าตายแล้ว จึงจะพ้นจากทุกข์ ครั้นเมื่อตายจริง ก็ตายแต่ธาตุแต่ขันธ์เท่านั้น ส่วนใจนั้นไม่ตาย จึงต้องไปเกิดอีก เมื่อไปเกิดอีก ก็ต้องตายอีก เป็นเช่นนี้จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ที่นิยมกันว่าตาย ก็คือตายเน่าตายเหม็น กันอยู่อย่างทุกวันนี้ ชื่อว่าตายเล่นตายไม่แล้ว ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย หาต้นหาปลายมิได้ ที่ตายแท้ ตายจริง คือตายทั่งรูปแตกขันธ์ดับ ตายทั้งจิตทั้งใจ มีแต่พระพุทธเจ้า กับเหล่าพระอรหันต์ ขีณาสพเท่านั้น ท่านเหล่านี้ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ในอดีตชาติเมื่อเรายังไม่รู้ เข้าใจว่าตายแล้ว จึงจะพ้นทุกข์ ทำบุญทำกุศล ก็มุ่งเอาแต่ความสุขในเบื้องหน้า ครั้นตายไปก็หาได้พ้นจากทุกข์ ตามความประสงค์ไม่ มาในปัจฉิมชาตินี้ เราจึงรู้ว่าสวรรค์แลพระนิพพานนี้ มีอยู่ที่ตัวนี้เอง เราจึงได้รีบเร่งปฏิบัติ ให้ได้ถึงแต่เมื่อยังเป็นคนอยู่ จึงพ้นจากทุกข์และได้เสวยสุข อันปราศจากอามิส เป็นพระบรมครู สั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ทุกวันนี้ (ความจริงตรงนี้ น่าสนใจเป็นพิเศษ ธรรมดาผู้ไม่ได้ศึกษาธรรมะ มักจะคิดว่า สวรรค์เป็นอะไรที่สุขมาก แตกต่างจากชีวิตมนุษย์ อย่างสิ้นเชิง นรกเป็นอะไรที่ทุกข์มาก แตกต่างจาก ตอนเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง ความจริงแล้วก็แตกต่างกัน เพียงไม่มีร่างกายเท่านั้น คนจะขึ้นสวรรค์ มันมีความสุขตั้งแต่มีชีวิตแล้ว ส่วนผู้ที่จะตกนรก ก็มีแต่ความเร่าร้อน ตั้งแต่ยังเป็นคนอยู่เทียว ส่วนการที่ไม่ให้สนใจร่างกาย ก็คือการพิจารณาขันธ์ ๕ ละอุปาทาน คิดว่า เป็นเรา เป็นของเรา เสียนั่นเอง)
สวรรค์ นิพพาน ต้องทำเองด้วยการ ดับกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ความทุกข์ในนรก และความสุขในสวรรค์ พระนิพพาน นั้นใครจะช่วยใครไม่ได้ เมื่อใครชอบอย่างใดก็ทำอย่างนั้น แม้เราตถาคตก็ช่วยใครให้พ้นทุกข์ และช่วยใครให้ได้สวรรค์ และพระนิพพานไม่ได้ ได้แต่เพียงสั่งสอน ชี้แจงให้รู้สุขรู้ทุกข์ ให้รู้สวรรค์ให้รู้พระนิพพาน ด้วยวาจาเท่านั้น อันกองทุกข์ โทษ บาปกรรมทั้งปวงนั้น ก็คือตัวกิเลสตัณหา ครั้นดับกิเลสตัณหาได้แล้ว ก็ไม่ต้องตกนรก ถ้าดับกิเลสตัณหาได้มาก ก็ขึ้นไปเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ ถ้าดับกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง หาเศษมิได้แล้ว ก็ได้เสวยสุข ในพระนิพพานทีเดียว เราตถาคตบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น ถ้าผู้รู้ทางแห่งความสุข แล้วประพฤติตามปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบสุขสมประสงค์ (อักขาตาโร ตถาคตา - ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก ชัดเจน)
สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ
DSCN0161อานันทะ ดูก่อนอานนท์ สุขทุกข์นั้นให้หมายที่จิต จิตสุขเป็นสวรรค์ จิตทุกข์เป็นนรก จะเข้าใจว่า นรกแลสวรรค์ มีอยู่นอกจิตนอกใจเช่นนั้น ได้ชื่อว่าเป็นคนหลง นรกแลสวรรค์ บาปบุญคุณโทษ ย่อมมีอยู่ในอกในใจทั้งสิ้น อยากพ้นทุกข์ก็ให้รักษาจิตใจ จากสิ่งที่เป็นบาปเป็นทุกข์เสีย ถ้าต้องการสวรรค์ ก็ทำการงานที่หาโทษมิได้ แลถ้าอยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ให้วางเสียซึ่งสุขและทุกข์ คือวางจิตใจ อย่าถือว่าเป็นของๆ ตน (การที่ดูจิตแล้วพบว่า อารมณ์เศร้าหมอง หรืออารมณ์เบิกบาน ไม่ใช่หลักประกันยืนยันว่า เมื่อตายแล้วจะไปสวรรค์ หรือนรก ขึ้นกับจิตสุดท้าย ตอนตายเป็นที่สุด ดังมีตัวอย่างมาในธรรมบท เรื่องมัฏฐกุลฑลีเทพบุตร ที่พลิกโผ ทำบาปชั่วมาทั้งชีวิต ตอนตายคิดถึงพระพุทธเจ้าหน่อยเดียว ก็ไปเสวยความสุขในสวรรค์ก่อน ส่วนพระนางมัลลิกาเทวี ทำดีมาตลอดชีวิต ถึงขั้นถวายอสทิสทาน ตอนตายจิตจับอกุศลนิดเดียว ที่เคยสะดุดเท้าพระสวามี เอาเท้าไปแช่ในนรกเสีย ๗ วัน แต่จะถือเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตโดยประมาทว่า เดี๋ยวไปทำดีตอนตายนิดเดียว ก็ได้ไปสวรรค์ เช่นนั้นมันก็ไม่ถูก ส่วนใหญ่กรรมชั่ว มันจะดึงลงต่ำ กรรมดีมันจะดึงขึ้นสูง ๒,๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา มีใครเป็นอย่างท่านทั้ง ๒ บ้าง ก็น้อยกว่าน้อย พระไตรปิฎกนั้น ยกขึ้นให้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ว่าเหตุการณ์เช่นนี้มีนะ ไม่ใช่ไม่มี อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ - ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม อัปปมาโท อมตัง ปทัง - ความไม่ประมาท เป็นทางของความเป็นอมตะ ปมาโท มัจจุโน ปทัง - ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ส่วนใหญ่ผู้ที่จิต เป็นสุขสม่ำเสมอ ก็มีแนวโน้มจะขึ้นสวรรค์ เสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้ที่มีจิตเศร้าหมอง เป็นส่วนมาก ก็มีแนวโน้มจะไปอบายภูมิ)
หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่ปรารถนาความสุขในพระนิพพาน จงทำตัวให้เหมือนแผ่นดิน หรือเหมือนดังคนตายแล้ว คือให้ปล่อยความสุข แลความทุกข์เสีย ข้อสำคัญก็คือ ให้ดับกิเลส ๑,๕๐๐ นั้นเสีย
กิเลส ๑,๕๐๐ นั้น เมื่อย่นลงให้สั้นแล้วก็เหลืออยู่ ๕ เท่านั้น คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑ ทิฏฐิ ๑
โลภะนั้น คือความทะเยอทะยาน มุ่งหวังอยากได้กิเลสกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑, อยากได้วัตถุกาม คือ สมบัติข้าวของ ซึ่งมีวิญญาณแลหาวิญญาณมิได้ ๑ เหล่านี้ชื่อว่า โลภะ
โทสะนั้น ได้แก่ความเคืองแค้น ประทุษร้าย เบียดเบียนท่านผู้อื่น ชื่อว่าโทสะ
โมหะนั้น คือความหลง มีหลงรัก หลงชัง หลงลาภ หลงยศ เป็นต้น ชื่อว่าโมหะ
มานะนั้น คือ ความถือตัว ถือตน ดูถูก ดูหมิ่น ท่านผู้อื่น ชื่อว่ามานะ
ทิฏฐินั้น คือความถือมั่น ในลัทธิอันผิด เห็นเป็นอุจเฉททิฏฐิ แลสัสสตทิฏฐิไป ปล่อยวางความเห็นผิดไม่ได้ ชื่อว่าทิฏฐิ
ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ได้แล้ว ก็ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นทั้ง ๑,๕๐๐ ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ไม่ได้ ก็ชื่อว่าดับกิเลสไม่ได้เลย
อานันทะ ดูก่อนอานนท์ แท้ที่จริงพระนิพพานนั้น ไม่มีอยู่ในที่อื่นไกลเลย หากมีอยู่ที่จิตใจนั้นเอง ครั้นดับ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ได้ขาดแล้ว ก็ถึงพระนิพพานเท่านั้น ถ้าไม่รู้แลดับกิเลสตัณหายังไม่ได้ เป็นแต่ปรารถนาว่าขอให้ได้พระนิพพานดังนี้ แม้สิ้นหมื่นชาติแสนชาติ ก็ไม่ได้พบปะเลย เพราะกิเลสตัณหาทั้งหลาย ย่อมมีอยู่ที่ตัวตนของเราทั้งสิ้น (หากสนใจจะศึกษา วิธีดับกิเลส ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก ในที่นี้ย่นย่อมาให้เพียงสังเขป) ฯ
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่วัดหลวงตาพวงนี่ท่านกำลังจะสร้างศาลาครอบองค์พระขนาด ๘ ศอกที่สร้างไว้ตากแดดตากฝนอยู่ ไหนๆ จะสร้างแล้วก็เลยจะสร้างเป็น ศาลาปฏิบัติธรรมไปเลย พระพุทธรูปองค์นี้สมัยที่เทปูนองค์พระ โยมที่อุปัฏฐากหลวงตามากว่า ๔ ปีเล่าให้ฟังว่า ไม่ทราบว่าคน แห่แหนมาจากไหน เป็นร้อยคนมาช่วยงาน ทั้งที่วัดหลวงตาก็อยู่ในป่าในดง (ขนาดไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงคิดดูละกัน ห่างจากกรุงเทพฯ แค่สองร้อยกว่ากิโล แต่ไม่มีไฟฟ้าใช้) ชาวบ้านในพื้นที่แถวนั้นก็ไม่เกิน ๓๐-๔๐ คน ไม่รู้ว่าเขาทราบข่าว การสร้างพระได้อย่างไร ขนาดเจ้าคณะตำบลยังไม่ทราบเลย ในจำนวนคนที่มาช่วยเทพระนี่โยมเขาเล่าว่า บางคนก็ไม่กระพริบตา แล้วทราบมาอีกว่า ท่านไม่เคยพิมพ์ซองผ้าป่าแจกเลย ทีแรกนึกว่าวัดท่านเป็นที่พักสงฆ์ ออกซองเรี่ยไรไม่ได้ จริงๆ แล้วออกได้ แต่ที่ท่านไม่ออกซอง เพราะกลัวจะกลายเป็นการทำบุญ เพราะเกรงใจ มันจะไม่ได้บุญเท่าที่ควร นี่แสดงให้เห็นว่า ท่านเห็นญาติโยม สำคัญกว่าตัวท่านเอง เป็นการสืบสาน มโนปณิธานของหลวงพ่อ ไว้อย่างเยี่ยมยอด กล่าวคือ หลวงพ่อท่าน สร้างสิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย มิใช่เพื่อตนเอง แต่ทนตรากตรำเหน็ดเหนื่อย ก็เพื่อช่วยให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสทำสังฆทาน ทำวิหารทาน อันจะส่งผล ให้ไปมีวิมานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อาตมาเห็นท่านสร้างแล้ว รู้สึกอยากช่วยงานของท่าน เพราะท่านเป็นพระ มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นอย่างสูง ชนิดเอาชีวิตเข้าแลก เข้าป่าไปปฏิบัติในถ้ำ ด้วยตนเองมากว่า ๒๐ ปี อาหารไม่มี ก็ฉันปลากระป๋อง กับหน่อไม้มาเป็นปีๆ สมัยก่อนน้ำไม่มี ภาชนะเก็บน้ำไม่มี ก็ต้องไปแบกมาจากที่ไกล ผ่านความยากลำบาก นานัปการ ท่านก็ต่อสู้ฝ่าฟันมา จนปัจจุบัน วัดเป็นรูปเป็นร่าง มีน้ำบาดาล มีไฟปั่น มีศาลา มีกุฏิ ทว่าสังขารท่านเสื่อมโทรมไปมาก ฟันก็หลุดหมดเพราะขาดสารอาหาร (หมดเกลี้ยงเลย ไม่เหลือสักซี่) ตาข้างหนึ่งบอดไปแล้ว อีกข้างหนึ่งก็เห็นมัว ๆ ด้วยต้อหิน ไม่มีทางรักษา มีแต่จะบอดช้า หรือบอดเร็วเท่านั้น กระนั้นท่านก็ยังมีจิตเมตตา คิดจะสร้างสถานที่ แห่งนี้ไว้ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป ท่านว่ามีก็ทำ ไม่มีก็ไม่ทำ ขนาดไม่เคยเรี่ยไร ตอนนี้ยังมีคนถวายปัจจัยให้ท่านสร้าง ร่วมห้าหมื่นแล้ว อาตมาไปดูความมัธยัสถ์ของท่านแล้ว คิดว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ คงจะได้ใช้อย่างคุ้มค่า ดูเอาเถิดอย่างงานถมดิน เกลี่ยพื้นที่ให้เสมอกัน ก่อนจะขึ้นศาลา ท่านว่าประมาณ ๕,๐๐๐ บาทเท่านั้น งบประมาณ ในการสร้างศาลา ท่านว่าจะขึ้นเสาสัก ๑๒ ต้น งบประมาณอยู่ราวๆ แสนกว่าบาท ใครสนใจทำวิหารทาน อันเป็นอามิสทาน ที่มีอานิสงส์สูงสุดในพระพุทธศาสนา ก็ขอเชิญร่วมทำบุญได้ บาทเดียวก็ได้อานิสงส์เสมอกัน เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ
 
 
Share:

เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา

พระราชภาวนาพินิจ

(สนธิ์ อนาลโย)

คณะผู้จัดทำรายการ

thumb_หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร 3~0พระธรรมมงคลญาณ

ประธานสถาบันพลังจิตตานุภาพ

02พระราชภาวนาพินิจ

เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา

Scan0006พระสุวรรณสิริวัณโณ

ผู้ดูแลเว็บไซด์และผู้ดำเนินรายการภาษาธรรมภาษาใจ

Rotation of DSCF6306

พระครูสุนทรวินัยวัฒน์

ผู้อำนวยการสถานีวิทยุวัดพุทธบูชา fm100.25mhz

penrut1คุณเพ็ญรัตน์พัวพงษ์ไพโรจน์ ผู้ดำเนินรายการหรรษาศาลาธรรม

DSC00062

ร.ศ.มานพ ตันตระบัณฑิต ผู้ดำเนินรายการกุศลสำหรับประชาชน

DSCF8162

ลุงพุทธิธรรม

ประธานแบ่งปัน สมุนไพรเพื่อสังคม

นักจัดรายการ5

คุณจิตตรา เพชรวงศ์

ประชาสัมพันธ์

FM100.25Mhz

Blog Archive

Blog Archive