วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บุญกฐินและอานิสงส์กฐิน


390202075เผลอแผล็บเดียว ใกล้ออกพรรษาละ เมื่อสองเดือนก่อนมีญาติโยมโทรมาถามหาวัดจักทอดกฐิน รู้สึกสงสัยทำไมเขาแอคทีฟกันจัง ยังไม่ทันเข้าพรรษาเลย เตรียมหาวัดทอดกฐินกันแล้ว เวลาผ่านไปจึงทราบว่า ๓ เดือนนี่ไวเหมือนโกหก และกฐินวัดใหญ่ ๆ ที่เป็น "กฐิน" เขาจองกันแต่เนิ่น ๆ
ที่นำเรื่องนี้มาเขียน ก็เพราะได้รับซองกฐินซองหนึ่งครับ มาจากวัดทางภาคเหนือ เปิดดูฎีกา(ใบบอกบุญในซอง)หน้าตาสวยงามทีเดียว พิมพ์เป็น ๔ สีเสียด้วย ลงทุนจริง ๆ ข้อความบอกบุญก็ดีครับ วัตถุประสงค์ก็ดี ดีทุกอย่างเลยยกเว้น "อานิสงส์กฐิน" ที่อยู่ตอนท้ายใบฎีกา อ่านแล้วแปร๊บหัวใจ
อ่านไม่ออกใช่ม๊า คนสแกนลงเองยังอ่านไม่ค่อยออกเลย ข้อ ๑ - ๔ ไม่ค่อยมีกระไรครับ ประมาณถ้าเป็นชายจักได้รับประทานการบวชแบบ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" (การตรัสว่า "จงมาเป็นภิกษุเถิด") จากพระพุทธเจ้าโดยตรง (ซึ่งความจริงน่าจักเพี้ยนมาจาก ถ้าเป็นชายไปเกิดทันยุคพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล แม้บวชด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" แล้วจักมีจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์มาใส่ทันที) เป็นหญิงก็ได้เครื่องประดับ มหาลดาปสาธน์ (เครื่องประดับของนางวิสาขามหาอุบาสิกา) หรือไปเกิดยุคอื่นก็ได้เครื่องประดับที่เลอค่าอมตะกว่าใคร บลา ๆ ๆ ... เรื่องพวกนี้เป็นไปได้ทั้งสิ้นครับ ไม่จำต้องถวายกฐิน ถวายสังฆทานธรรมดานี่ก็ได้ ขอให้มีไตรจีวรรวมอยู่สักชุดหนึ่ง หรือทำบุญหนัก ๆ สักอย่างหนึ่งแล้วอธิษฐาน (ตั้งใจมั่น) ว่าต้องการเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นไปได้ครับ แต่เมื่อไหร่ไม่รู้ ฉะนั้นข้าพเจ้าไม่ใคร่ใส่ใจนัก
มาข้อ ๕ นี่ละครับ เฮ้ย!!! แอ๊ดว๊านซ์ขิง ๆ
ความว่า "เป็นมหากุศลทาน ผู้มีจิตอนุโมทนาย่อมได้กุศลนั้น แม้อุทิศให้ผู้ตายอันตกอยู่ในทุคติ ย่อมพ้นจากทุคตินั้น"อ่านแวบแรก เฮ้ย... ถวายกฐินแล้วอุทิศให้คนที่ตกนรก ก็พ้นจากนรกงั้นซี????
มาอ่านรอบสองถึงเข้าใจว่า ทุคติที่ท่านว่า หมายถึงภูมิของเปรต แถมเป็นเปรตจำพวกสุดท้ายในเปรต ๑๒ จำพวก ใกล้พ้นวิบากแล้วด้วย ชื่อว่า ปรทัตตูปชีวีเปรต อีก ๑๑ จำพวกที่เหลือ ไม่สามารถรับผลบุญที่ญาติอุทิศให้ได้
คำว่า "ทุคติ" นั้น ความจริงหมายรวมเอาถึง อบายภูมิ ๔ มีนรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานครับ ไม่ใช่หมายถึงเปรตอย่างเดียว การเขียนไม่ชัดเจนทำนองนี้ อาจพาให้คนเข้าใจผิดได้ว่า แม้ทำบุญแล้วอุทิศให้ญาติที่ไปตกนรกอยู่ เขาก็พ้นจากนรก อุทิศให้ญาติที่เป็นอสุรกายอยู่ เขาก็พ้นจากการเป็นอสุรกาย (ความจริงภูมิของอสุรกายนี่ สูงกว่าภูมิของเปรต แต่อสุรกายนี่มานะทิฏฐิเยอะ ไม่ยอมรับบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ครับ) อุทิศให้ญาติที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น แมว สุนัข เป็นต้น แล้ว เขาจักพ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉาน
คอมม่อนเซ้นส์ครับ อุทิศบุญให้สุนัข แมว แล้วเขาจักกลายเป็นมนุษย์ เทพบุตร เทพธิดา ขึ้นมาทันทีทันใด เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด (แต่ถ้าพ้นจากอัตตภาพนี้แล้ว เป็นไปได้ครับ ถ้าเขาอนุโมทนา) นี่ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงครับ พาลอาจคิดไปได้ว่า ข้อ ๑ - ๔ กลายเป็นโฆษณาชวนเ่ชื่อไปด้วย
อานิสงส์ของการถวายกฐินแท้จริงแล้ว ก็เหมือนกับการถวายสังฆทานนั่นแล เพียงแต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น จำกัดกาล (ปีหนึ่งถวายได้หนเดียว) จำกัดเวลา (ต้องถวายภายใน ๑ เดือนหลังออกพรรษา) เป็นต้น เรียกว่า ใช้กำลังใจสูงกว่าการถวายผ้าป่าที่ถวายได้ตลอดปี หรือสังฆทานธรรมดานั่นเอง เลยมีอานิสงส์พิเศษ
bby12คำว่า "อานิสงส์กฐิน" ที่อยู่ตอนต้น ก็ควรเขียนว่า "อานิสงส์การถวายกฐิน" ครับ เพราะอานิสงส์กฐินแท้จริงนั้น เกิดแก่พระภิกษุ ฆราวาสไม่เกี่ยว ดังนี้
๑. เที่ยวไปโดยไม่บอกลา (ออกพรรษา อนุโมทนากฐินแล้ว เที่ยวไม่ยั้งครับ)
๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบชุด (ปกติพระไปไหนต้องพกสังฆาฏิใส่ย่ามไปด้วยครับ)
๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ (อันนี้แปลคร่าว ๆ ว่า ฉันเป็นหมู่คณะได้)
๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดในที่นั้น (ที่ที่จำพรรษา) เธอมีสิทธิที่จะกรานกฐินและได้รับอานิสงส์ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ และจะได้รับสิทธิพิเศษนี้ไปอีก ๔ เดือน
ไม่มีข้อใดเป็นอานิสงส์ของผู้ถวายเลย เรื่องนี้ทั้งพระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง เคยพูดไว้เกี่ยวกับอานิสงส์การถวายกฐิน ซึ่งให้ใช้การสังเกตครับ มิได้ยกพระพุทธพจน์ขึ้นอ้าง แสดงว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสถึงอานิสงส์แห่งการถวายกฐินตรง ๆ ท่านว่า ให้สังเกตดูถ้าไปร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป ความเป็นอยู่จักคล่องตัวขึ้น คำว่า "คล่องตัว" นี่ ไม่ได้หมายความว่า "รวย" แต่หมายถึงมีความเป็นอยู่สะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน อันนี้เป็นแค่เศษของความดี
ท่านยกอานิสงส์ที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงเคยไปเกิดในสมัยของพระปทุมมุตตรพุทธเจ้า มีชื่อว่า มหาทุกขตะเป็นคนจนมาก แล้วมีโอกาสได้ร่วมถวายกฐินด้วยหลอดด้ายเพียงหลอดเดียว พระปทุมมุตตรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุพระโพธิญาณของมหาทุกขตะ เป็นพระสมณโคดมพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้นมีการถวายกฐินนี้เป็นปัจจัยแสดงว่า การตั้งใจถวายกฐินนั้นแม้ปรารถนาพระโพธิญาณ ความเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลก็สำเร็จ สำมะหากระไรกับสิ่งอื่น ย่อมต้องสำเร็จตามประสงค์
แล้วกล่าวทิ้งท้ายว่า "บุคคลที่ตั้งใจทำบุญกฐิน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้แต่ทิพยจักษุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเลิศแล้ว ที่สุดยังมองไม่เห็นเลยว่า อานิสงส์นั้นจะไปสิ้นสุดตรงไหน ส่วนใหญ่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เกิดแล้วเกิดอีกอยู่ในระดับของความดีนี้ตลอดจนกระทั่งไม่สิ้นสุดของอานิสงส์กฐิน ก็จะเข้านิพพานเสียก่อน ฟังดูแล้วน่าทำไหม ร่วมกับเขาบ่อย ๆ"
รู้อย่างนี้แล้ว แม้ฎีกากฐินของวัดนี้จักไม่เข้าตากรรมการไปสักหน่อย แต่ก็ร่วมบุญไปเรียบร้อยแล้วครับ
ก่อนจบขอกล่าวถึงข้อสอบนักธรรมเอกสักข้อหนึ่ง เกี่ยวกับกฐินครับ
ถามว่า วัดมีพระจำพรรษาวัดละ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐิน นิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน เป็นกฐินหรือไม่? เพราะเหตุใด?
390202080ตอบว่า ไม่เป็นกฐิน เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินนั้นมี ๓ คือ เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด ๑, อยู่ในอาวาสเดียวกัน ๑, ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ๑ ฯ
ฉะนั้นพึงทราบไว้เลยว่า่ ที่เขานิมนต์พระต่างวัดมาสวดอนุโมทนากฐินนั่น ไม่เป็นกฐินครับ เป็นผ้าป่าธรรมดา เรื่องนี้แม้อาจารย์สอนนักธรรมเอกบางท่าน ก็มาแบบข้าง ๆ คู ๆ ว่า ทางมหาเถรสมาคมออกหนังสือปกขาว หรือหนังสือเวียนออกมาให้กระทำได้ ทั้งที่หนังสือเรียนก็เขียนอยู่ทนโท่ว่า มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงฟันธงเลยว่า ไม่ใช่กฐิน
อีกทางหนึ่ง คือสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงประทานอำนาจปกครองสงฆ์ให้แก่คณะสงฆ์ครับ ถ้าคณะสงฆ์ในประเทศไทย อนุโลมให้การนิมนต์พระจำพรรษาต่างวัดมารับกฐินแล้วเป็นกฐิน อย่างนั้นก็เป็นกฐินครับ แต่เราคงไม่ใช่นิกาย "เถรวาท" อีกต่อไป เพราะนิกายเถรวาทนี่ ตามศัพท์แปลว่า วาทะของพระเถระ ในที่นี้ก็คือ พระมหากัสสปะ วาทะของท่านคือ "เราจักไม่บัญญัติ สิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติ เราจักไม่รื้อถอน สิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติแล้ว"
อาจต้องไปตั้งนิกายใหม่ชื่อ "อัตตโนวาท" จักเหมาะสมกว่า 5555+ 
อีกประการหนึ่งครับ กฐินนี่พระภิกษุไปบอกให้โยมมาถวายกฐินไม่ได้นะครับ ประมาณว่า "โยมจ๋า ปีนี้ที่วัดยังไม่มีใครจองกฐินเลย" อย่างนี้แม้จำพรรษากันครบ ๕ รูป ก็ไม่เป็นกฐิน ผ้ากฐินที่ได้มาเป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ (อาบัติชนิดหนึ่ง ต้องสละผ้าที่ได้มานั้น จึงแสดงอาบัติตก) อีกต่างหาก
ฉะนั้น หากต้องการถวายกฐินจริง ๆ ญาติโยมต้องเป็นฝ่ายปรารภก่อนครับ และถ้าเจอ "กฐินแปลง" ที่องค์กำหนดสิทธิรับกฐินไม่ตรงกับสิ่งที่ข้าพเจ้าบรรยายมา ก็ขอให้พิจารณาโดยถ้วนถี่ครับ เดี๋ยวทำกฐินแล้วจักได้ผ้าป่ามาแทน
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ
ปล. อีกนิดส์ครับ อย่าลืมเลือกเนื้อนาบุญกันด้วยหล่ะ หว่านข้าวลงนาดอนระวังข้าวไม่ขึ้นนะจ๊ะ
ข้อมูลเพิ่มเต็ม ประเภทของกฐิน
ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ
จุลกฐิน
งานบุญกฐินของชาวเขมรในสหรัฐอเมริกา
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย[6]
สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

การทอดกฐินในประเทศไทย

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค
                    กฐินหลวง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) [7]
กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์
กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)
กฐินราษฎร์
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน
กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย

                                                                  คำถวายผ้ากฐิน

                                                    คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า

                                                    บทปุพพภาคนมการ
                            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
                                                  กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ทุติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ตติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สาม
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ[8]
คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบใหม่
บทปุพพภาคนมการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ, อมฺหากํ
ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.[9]

เกร็ดในงานถวายผ้ากฐินในประเทศไทย

ธงจระเข้-นางมัจฉา
 ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
๑. สมัยโบราณนิยมแห่ผ้ากฐินไปทอดตามวัดต่าง ๆ โดยอาศัยเรือเป็นสำคัญ การเดินทางไปตามลำน้ำมักมีอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ เนือง ๆ เช่น จระเข้ขึ้นมาหนุนเรือให้ล่ม ขบกัดผู้คนบ้าง คนแต่ก่อนหวั่นเกรงภัยเช่นนี้ จึงคิดอุบายทำธงจระเข้ปักหน้าเรือไปเป็นทำนองประกาศให้สัตว์ร้ายในน้ำ เช่น จระเข้ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และดุร้ายกว่าสัตว์อื่นๆ ในน้ำ ให้รับทราบการบุญการกุศล จะได้พลอยอนุโมทนาและมีจิตใจอ่อนลง ไม่คิดที่จะทำอันตรายแก่ผู้คนในขบวนซึ่งเดินทางไปประกอบพิธีการทางศาสนา
390202078๒. เนื่องจากถือกันว่าดาวจระเข้เป็นดาวสำคัญ การเคลื่อนขบวนทัพในสมัยโบราณต้องคอยดูดาวจระเข้ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาจวนสว่างแล้ว การทอดกฐินเป็นพิธีทำบุญที่มีอานิสงส์ไพศาลเพราะทำในเวลาจำกัด มีความสำคัญเท่ากับการเคลื่อนขบวนทัพในชั้นเดิมผู้จะไปทอดกฐินต้องเตรียมเครื่องบริขารและผ้าองค์กฐินไว้อย่างพร้อมเพรียง แล้วแห่ไปวัดในเวลาดาวจระเข้ขึ้น ไปแจ้งเอาที่วัด ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงจระเข้โดยถือว่า ดาวจระเข้เป็นดาวบอกเวลาเคลื่อนองค์กฐิน
๓. มีเรื่องเล่าว่า มีอุบาสกคนหนึ่งนำองค์กฐินแห่ไปทางเรือมีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญในการทอดกฐิน จึงว่ายน้ำตามเรืออุบาสกนั้นไปด้วย แต่ไปได้พักหนึ่งจึงบอกแก่อุบาสกนั้นว่า ตนตามไปด้วยไม่ได้แล้วเพราะเหนื่อยอ่อนเต็มที ขอให้อุบาสกจ้างช่างเขียนภาพของตนที่ธง แล้วยกขึ้นไว้ในวัดที่ไปทอดด้วยอุบาสกรับคำจระเข้แล้วก็ทำตามที่จระเข้สั่ง ตั้งแต่นั้นมาธงรูปจระเข้จึงปรากฏตามวัดต่าง ๆ ในเวลามีการทอดกฐิน
อนึ่ง มีข้อความในจาตุมสูตรตอนหนึ่ง แสดงภัยที่จะเกิดกับพระไว้ ๔ อย่างด้วยกัน ซึ่งเปรียบด้วยภัยที่เกิดแก่บุคคลที่ลงในแม่น้ำหรือทะเล คือ
๑. ภัยเกิดแต่ความอดทนต่อโอวาทคำสอนมิได้ ท่านเปรียบเสมือนคลื่น เรียกว่า อุมฺมิภยํ
๒. ภัยเกิดแต่การเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากมิได้ท่านเปรียบเสมือนจระเข้ เรียกว่า กุมฺภีลภยํ
๓. ภัยเกิดแต่ความยินดีในกามคุณ ๕ ท่านเปรียบเสมือนวังน้ำวน เรียกว่า อาวฏฺฏภยํ
๔. ภัยเกิดแต่การรักผู้หญิง ท่านเปรียบเสมือนปลาร้ายเรียกว่า สุสุกาภยํ
พิจารณารูปธงที่ช่างประดิษฐ์ขึ้น จะเห็นว่ามีภัย ๔ อย่างอยู่ครบ ต่างแต่ว่าเด่นมาก เด่นน้อย หรือเป็นเพียงแทรกอยู่ในความหมายที่เด่นมาก คือ รูปจระเข้ รองลงไปคือ รูปคลื่น ส่วนอีก ๒ อย่างคือ รูปวังน้ำวนและปลาร้าย ปรากฏด้วยรูปน้ำเป็นสำคัญ บางรายเขาเพิ่มธงปลาร้ายขึ้นอีกธงหนึ่ง เรียกว่า “ธงมัจฉา”
ธงรูปจระเข้หรือธงรูปนางมัจฉานี้ ปักไว้ที่หน้าวัด เพื่อแสดงให้ทราบว่าที่วัดนี้ได้มีการทอดกฐินแล้ว ผู้ที่ผ่านไปมาจะได้พลอยอนุโมทนาด้วย
ซองกฐิน
 ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ อื่น ๆ
กฐินเดาะ
คำว่าเดาะในภาษาไทยแปลว่าร้าวจนหัก แต่ในความหมายของพระวินัยคือพระสงฆ์ที่ได้รับกฐินแล้วได้สิทธิ์ในการขยายเวลาในการทำจีวรออกไปได้อีก 4 เดือน แต่ในระหว่างนั้นภิกษุออกจากวัดโดยที่ไม่คิดกลับมา และหมดความกังวลจีวรคือทำจีวรเสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ แต่เกิดเสียหายหรือสูญหายไปจึงหมดหวังที่จะได้ผ้ามาทำจีวรอีก[10]
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา

พระราชภาวนาพินิจ

(สนธิ์ อนาลโย)

คณะผู้จัดทำรายการ

thumb_หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร 3~0พระธรรมมงคลญาณ

ประธานสถาบันพลังจิตตานุภาพ

02พระราชภาวนาพินิจ

เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา

Scan0006พระสุวรรณสิริวัณโณ

ผู้ดูแลเว็บไซด์และผู้ดำเนินรายการภาษาธรรมภาษาใจ

Rotation of DSCF6306

พระครูสุนทรวินัยวัฒน์

ผู้อำนวยการสถานีวิทยุวัดพุทธบูชา fm100.25mhz

penrut1คุณเพ็ญรัตน์พัวพงษ์ไพโรจน์ ผู้ดำเนินรายการหรรษาศาลาธรรม

DSC00062

ร.ศ.มานพ ตันตระบัณฑิต ผู้ดำเนินรายการกุศลสำหรับประชาชน

DSCF8162

ลุงพุทธิธรรม

ประธานแบ่งปัน สมุนไพรเพื่อสังคม

นักจัดรายการ5

คุณจิตตรา เพชรวงศ์

ประชาสัมพันธ์

FM100.25Mhz

Blog Archive

Blog Archive